วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ

ข้อมูล

รายละเอียด

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เป็นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศส่งสัญญาณโทรทัศน์สีระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีกหนึ่งเดือนต่อมา โดยแท้จริงแล้ว การแพร่ภาพออกอากาศของสถานีฯ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุคของ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี อย่างเป็นทางการ ซึ่งออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา


ประวัติ

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2551 ทำให้กรมประชาสัมพันธ์ได้ตัดสัญญาณการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีซึ่ง ออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 เป็นเวลาชั่วคราว เมื่อเวลา 00.08 นาฬิกาของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และเปลี่ยนมาออกอากาศนโยบายของสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะสลับกับสารคดีเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยทั้งหมดส่งสัญญาณจากอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นเวลา 15 วัน

กระทั่งเวลา 15.30 นาฬิกาของวันที่ 17 มกราคม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการ สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส อย่างเต็มตัว โดยได้ออกอากาศรายการพิเศษ "นับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS" จากห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นครั้งแรก และนับเป็นรายการสดที่ออกอากาศจริงทางสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยเนื้อหาของรายการเป็นการอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของ สถานีโทรทัศน์ มีนางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวีชุดกบฎไอทีวี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมรายการคือนายขวัญสรวง อติโพธิ นายณรงค์ ใจหาญ และนายอภิชาติ ทองอยู่ กรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การฯ เป็นวิทยากร

หลังจากนั้น สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสได้ออกอากาศรายการสารคดีอย่างต่อเนื่อง กระทั่งได้กลับมาออกอากาศทางช่อง 29 อันเป็นช่องไอทีวีเดิมอีกครั้ง และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้เปิด "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส" ขึ้นอย่างเป็นทางการแทนที่สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส แต่คงใช้ตราสัญลักษณ์แบบเดียวกับของเดิม เพียงเปลี่ยนชื่อด้านล่างตรา พร้อมทั้งประกาศผังรายการใหม่เพื่อทดลองออกอากาศในระยะแรกระหว่างวันที่ 1 ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ซึ่งในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. มีรายการที่สำคัญ คือ "ร่วมคิด ร่วมสร้าง ไทยพีบีเอส" ในเวลา 20.00 น ซึ่งเป็นรายการสด จัดโดยฝ่ายข่าวและฝ่ายรายการของไทยพีบีเอส มีเนื้อหาเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เกี่ยวกับทัศนคติว่าด้วยทีวีสาธารณะและความเหมาะสมในการออกอากาศรายการ ประเภทต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา

ส่วนช่วงเวลา 05.00-18.00 นาฬิกา เป็นการฉายสารคดีซึ่งเดิมทีได้ฉายเป็นปรกติอยู่แล้วในช่วงก่อนเปิดสถานี โทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส่วนผังรายการอื่นในระยะแรกมีการนำละครอิงประวัติศาสตร์อย่าง "สามก๊ก" ละครเด็ก "นะโม ฮีโร่ผู้น่ารัก" รายการคุยข่าว "ตอบโจทย์" รายการดนตรี "ดนตรีกวีศิลป์" กับ "วันโอเอทมิวสิก (108 Music)" รายการสนทนาปัญหาสังคม คือ "เปิดปม" กับ "สถานีประชาชน" รายการหนังสั้น "ฮอตชอร์ตฟิล์ม (Hot Short Film)" จับกลุ่มวัยรุ่น ตลอดจนรายการสารคดีท่องโลกและธรรมชาติ

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้ออกอากาศโดยมีการปรับผังรายการเป็นระยะในช่วงต้น เดือนของแต่ละเดือน จนกระทั่งวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 องค์การฯ จึงจัดงานเปิดตัวอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ตามที่ได้จัดประกวดไปก่อนหน้านี้พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น "ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ" ส่วนชื่อไทยพีบีเอสใช้เป็นชื่อขององค์การเพียงอย่างเดียวเท่านั้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับผังรายการให้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนรวมถึงความบันเทิงเชิงสาระมากขึ้น


การแพร่ภาพด้วยสถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดิน

เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ระบบการแพร่ภาพออกอากาศภาคพื้นดิน ใช้คลื่นความถี่ UHF หรือ Ultra High Frequency และใช้มาตรฐานของ Video ระบบ PAL G ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน CCIR โดยช่องสัญญาณย่านความถี่ UHF สำหรับกิจการ โทรทัศน์ในประเทศไทย ได้จัดสรรไว้ระหว่างช่องที่ 26 ถึง 60 หรือมีความถี่อยู่ระหว่าง 510 ถึง 790 MHz. ระบบเสียงที่สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยส่งออกอากาศประกอบด้วย ระบบเสียง Mono และ Digital NICAM Stereo ซึ่งระบบเสียง Digital NICAM นี้จะให้เสียงที่มีคุณภาพคมชัดแบบ Stereo และผู้ชมทางบ้านจะสามารถรับฟังเสียง Sound Track ได้จากระบบเสียง Digital NICAM นี้ หากเครื่องรับโทรทัศน์ของผู้ชมทางบ้านมีระบบดังกล่าว
ทีวีไทยได้พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายการส่งสัญญาณโทรทัศน์แพร่ภาพออก ไปทั่ว ประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกพื้นที่ ทั้งในตัวเมืองและชนบทที่ห่างไกล สามารถรับสัญญาณภาพ และเสียงได้อย่างชัดเจน ได้รับรู้ข่าวสาร สาระบันเทิง ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน


ช่องทางการรับชม

- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 4145 H SR- 4815

- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น