วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานีโทรทัศน์ ธรรมะ มีเดีย แชนแนล DMC - Dhamma Media Channel

ดีเอ็มซี

ดีเอ็มซี (DMC - Dhamma Media Channel) เป็นสื่อเพื่อการศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียมของไทย ดำเนินการโดย มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม สถานีรายการธรรมะที่ส่งสัญญาณออกอากาศผ่านดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมงไปทั่วประเทศไทย และครอบคลุมอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก เนื้อหาของรายการจะมีลักษณะผสมผสานแบบวาไรตี้

รายการที่แสดงรวมถึงรายการธรรมะเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปแบบ บทเพลง สาระบันเทิง ปลูกฝังศีลธรรมให้แก่เยาวชน สร้างสรรค์ ความรู้และประสบการณ์ของการปฏิบัติธรรม

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทรท., ทีวีพูล (อังกฤษ: The Television Pool of Thailand - TPT. ; T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ไทยทีวีสีช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี, สทท. และ ทีวีไทย รวมทั้งสถานีเคเบิลที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

การก่อตั้ง

ภาพเข้ารายการพิเศษประกาศเตือนภัย จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทาง ทรท.เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทั้ง 4 ช่องในขณะนั้น ได้แก่ ช่อง 3, ช่อง 4 (ช่อง 9, โมเดิร์นไนน์ทีวี) , ททบ., และบีบีทีวี ได้ประชุมร่วมกัน และมีมติว่า แต่ละสถานีควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่างๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานี

จึงได้ก่อตั้งองค์กรชื่อ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขึ้น โดยมีคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เป็นกรรมการ และตามธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้น ประธานกรรมการ ทรท. ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (โดยตำแหน่ง)

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ทีไอทีวี, ไทยพีบีเอส, ทีวีไทย) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก

วัตถุประสงค์
1.ร่วมมือในการถ่ายทอด และรับการถ่ายทอด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รายการสำคัญระดับชาติ เช่น พระราชพิธี พิธีสำคัญทางศาสนา พิธีสำคัญทางทหาร กิจกรรมสำคัญของภาครัฐบาล หรืองานสำคัญระหว่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ อาจจะถ่ายทอดออกอากาศทุกสถานี หรือถ่ายทอดบางสถานีเท่านั้น แล้วแต่จะเห็นควร
2.เป็นผู้ประสานงาน ในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ จากการถ่ายทอดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมการถ่ายทอด (กีฬา) ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่มีคุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
3.เป็นสื่อกลางระหว่างสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
4.พิจารณาขจัดปัญหา และข้อขัดแย้งต่างๆ ของแต่ละสถานี โดยจะไม่ก้าวก่ายการบริหารภายในของแต่ละสถานี
5.ร่วมมือสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์ โดยพยายามยกระดับมาตรฐานให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น


...

สถานีประชาธิปไตย สถานีประชาชน People channel

สถานีประชาธิปไตย (อังกฤษ: Democracy Station) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในประเทศไทย


เริ่มทดลองออกอากาศ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 06.00 น.[1][2] และแพร่ภาพอย่างเป็นทางการ ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยจะมีสัดส่วนของรายการประกอบด้วย รายการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 50, รายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ 20, รายการสาระปกิณกะและบันเทิง ร้อยละ 10, รายการส่งเสริมการพัฒนาสังคม ร้อยละ 10 และรายการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 10[3]
รายการโทรทัศน์
สถานีฯ มีรายการที่เริ่มออกอากาศในระยะแรก ประกอบด้วย รายการสถานีประชาธิปไตย ดำเนินรายการโดย นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ และ นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ, ความจริงวันนี้ ดำเนินรายการโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, เพื่อนพ้องน้องพี่ และ มหาประชาชน ดำเนินรายการโดย นายวีระ นายจตุพร นายจักรภพ เพ็ญแข นายณัฐวุฒิ และ นายก่อแก้ว พิกุลทอง[4]

คุยกับอดิศร ดำเนินรายการโดย นายอดิศร นายสุพร อัตถาวงศ์ และ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น, ห้องเรียนประชาธิปไตย ดำเนินรายการโดย นายสุนัย จุลพงศธร นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ ร้อยโทหญิงสุณิสา เลิศภควัต, เสียงประชาชน ดำเนินรายการโดย นายชินวัฒน์ หาบุญพาด และ นายสมยศ, ทางออกประเทศไทย ดำเนินรายการโดย นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, แดงทั้งแผ่นดิน ดำเนินรายการโดย นายณัฐวุฒิ, กฎหมายต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นายนพดล ปัทมะ, สายตาโลก ดำเนินรายการโดย นายจักรภพ และ ทนายธนา อาสาคลายทุกข์ ดำเนินรายการโดย นายธนา เบญจาธิกุลและ นางสาวนิษณา วณีสอน[4]
การระงับสัญญาณออกอากาศ
เมื่อช่วงสายวันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552 กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้าไปภายในบริเวณโรงแรมรอยัล คลิฟฟ์ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ประชุมผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจา 3 และ 6 ประเทศ ทำให้การประชุมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จึงต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด ต่อมา เวลาประมาณ 14.00 น. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี โดยให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้รักษาการณ์ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงอาศัยอำนาจ โดยอ้างตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อขอความร่วมมือจาก บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ระงับสัญญาณออกอากาศของสถานีฯ ซึ่งส่งสัญญาณขึ้นสู่ดาวเทียมไทยคม อย่างเร่งด่วนโดยทันที โดยมอบหมายให้ นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงฯ เป็นผู้นำหนังสือสั่งการไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี โดยอ้างว่าเนื้อหาในการออกอากาศ ก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง[5]

ส่งผลให้กลุ่มคนเสื้อแดง เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้ประกาศให้ประชาชนที่สนับสนุนคนเสื้อแดง ออกมาร่วมชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล หากไม่สามารถเข้ามาในกรุงเทพมหานครได้ ขอให้ไปร่วมชุมนุม ที่ศาลากลางของทุกจังหวัด และหากมีการระงับสัญญาณสถานีประชาธิปไตยจริง มวลชนเสื้อแดงจะใช้มาตรการตอบโต้รัฐบาล ด้วยการชุมนุมปิดกั้นถนนทุกสายในประเทศไทย ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง[5]

เวลา 19.30 น. กลุ่มคนเสื้อแดงจากหน้าทำเนียบรัฐบาล ที่นำโดย นายสุพร อัตถาวงศ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นำรถปราศรัย เดินทางไปถึงหน้าสถานีดาวเทียมไทยคม เพื่อสกัดกั้นการระงับสัญญาณออกอากาศได้สำเร็จ[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 13.34 น. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลบางจังหวัด ซึ่งประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน เพื่อทำการตัดสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศของสถานีฯ และปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์สถานีฯ ด้วย

สถานีประชาชน
ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ผู้ประกาศข่าว พิธีกร และผู้ปฏิบัติงานชุดเดิม กลับมาดำเนินการทดลองออกอากาศผ่านดาวเทียมจากต่างประเทศ ในระบบซี-แบนด์ และผ่านเว็บไซต์ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า สถานีประชาชน (อังกฤษ: People Channel) ตั้งแต่วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และออกอากาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยใช้ผังรายการตามเดิม และในเดือนตุลาคม 2552 ได้เปลี่ยนโลโก้บนจอให้คล้ายกับยุคดีสเตชัน และใช้เป็นโลโก้สถานีอย่างเต็มตัวในเดือนธันวาคม 2552

เว็บไซต์ : www.peoplechannel.net , www.dstationtvonline.com , www.dstation.us

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการบริหาร และคณะอนุกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและ
วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สาระความรู้ และข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการทางด้านนิติบัญญัติ และกิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้าน
ต่างๆ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐสภากับประชาชน
4. ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาคณะกรรมาธิการ และการสัมมนาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ทั้งในและนอกสถานที่ทั่วประเทศ
5. วิเคราะห์และประเมินผลการรับฟังรับชม รายการวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและรายการโทรทัศน์ เพื่อนำมาปรับปรุงรายการให้มี
ประสิทธิภาพ
6. ศึกษา วิเคราะห์หรือจัดให้มีการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบของรายการวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และรายการโทรทัศน์ และรายงานผล
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล กิจกรรมต่างๆ
7. เป็นศูนย์ข่าวรัฐสภาและศูนย์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลในการเผยแพร่ข่าวสารของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้
แทนราษฎร และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประชาชน
8. จัดเตรียมข้อมูล และผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการโทรทัศน์ ทั้งรายการสดการถ่ายทอดเสียงนอกสถานที่ และบันทึกเทป
9. จัดทำรูปแบบรายการ จัดทำผังรายการ สคริปต์รายการ สปอตและประสานงานตรวจสอบความพร้อมในการผลิตรายการ
10. ตรวจสอบรายการและดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการโทรทัศน์ และประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
11. พัฒนาสถานีและเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
12. จัดหาข่าว ประกาศข่าวและประกาศรายการ
13. ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงทางเทคนิค อุปกรณ์เครื่องส่งกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ห้องส่งกระจายเสียงและห้องบันทึก
รายการโทรทัศน์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
14. กำกับ ควบคุมและดูแลห้องส่งกระจายเสียง ห้องบันทึกรายการ และควบคุมเวลาการออกอากาศ
15. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย สื่อนิติบัญญัติ ที่มุ่งมั่นเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการเมือง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองของประชาชน เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย "

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานบริหารทั่วไป

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ ครุภัณฑ์ การเงิน และงบประมาณของสำนัก
3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและข้อมูลด้านบุคคลของสำนัก
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และงบประมาณ รวมถึงการประสานงาน ด้านแผน รายงานผลการปฏิบัติงาน การใช้จ่ายงบ
ประมาณและสถิติของสำนัก
5. ดำเนินงานเลขานุการและงานประชุมของสำนัก
6. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและเผยแพร่เอกสารและผลงานของสำนัก
7. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานข่าวและประเมินผล

1. จัดทำและจัดหาข่าวเพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสถานีวิทยุโทรทัศน์
2. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการเสนอข่าว และการรายงานข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และทางสถานีวิทยุ
โทรทัศน์ และรายงานผลวิเคราะห์ ข้อมูล และประเมินผลกิจกรรมต่างๆ
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการรายงาน และการประกาศข่าวสารเกี่ยวกับวงงาน รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน
ราษฎร และข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐสภา กับประชาชน
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวม ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ที่เผยแพร่ออกอากาศ
5. วิเคราะห์และประเมินผลการรับฟังรับชมรายการวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และรายการโทรทัศน์ เพื่อนำมาปรับปรุงรายการให้มี
ประสิทธิภาพ
6. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สาระความรู้ และข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการทางด้าน นิติบัญญัติ และกิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้าน
ต่างๆ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย และแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง รัฐสภากับประชาชน
4. ดำเนินการถ่ายทอดเสียงการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ทั่วประเทศ
5. ศึกษา วิเคราะห์และจัดให้มีการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบของรายการวิทยุ กระจายเสียงรัฐสภา
6. เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิทยุกระจายเสียง ให้กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้
แทนราษฎร และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประชาชน
7. จัดเตรียมข้อมูล และผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงทั้งรายการสด การถ่าย ทอดเสียงนอกสถานที่และบันทึกเทป
8. จัดทำรูปแบบรายการ จัดทำผังรายการ สคริปต์รายการ สปอตและประสานงาน ตรวจสอบความพร้อมในการผลิตรายการ
9. ตรวจสอบรายการและดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงและประสานงานกับ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
10. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานผลิตรายการโทรทัศน์

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ รัฐสภาและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สาระความรู้และข่าวสาร เกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการทางด้านนิติบัญญัติ และกิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้าน
ต่าง ๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย และแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง รัฐสภากับประชาชน
4. ดำเนินการเพื่อให้มีการถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการสัมมนา ทั้งในและนอกสถานที่ทั่วประเทศ
5. ศึกษา วิเคราะห์หรือจัดให้มีการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบของรายการโทรทัศน์
6. เป็นสื่อกลางในการรับส่งเรื่อง และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประชาชน
7. จัดเตรียมข้อมูลและผลิตรายการโทรทัศน์ ทั้งรายการสดและบันทึกเทป
8. จัดทำรูปแบบรายการ จัดทำผังรายการ สคริปต์รายการ สปอตและประสานงาน ตรวจสอบความพร้อมในการผลิตรายการ
9. ตรวจสอบรายการ และดำเนินรายการโทรทัศน์และประสานงานกับหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง
10. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานเทคนิค

1. ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงทางเทคนิค อุปกรณ์เครื่องส่งกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ห้องส่งกระจายเสียงและห้องบันทึก
รายการโทรทัศน์ ทั้งในส่วน กลางและส่วนภูมิภาค
2. กำกับ ควบคุมและดูแลห้องส่งกระจายเสียง และห้องบันทึกรายการโทรทัศน์ และควบคุมเวลาการออกอากาศ
3. กำกับ ดูแลและควบคุมการเปิดปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
4. ให้บริการบันทึกเสียง บันทึกภาพและบันทึกเทปรายการ
5. ประสานและอำนวยความสะดวกการดำเนินรายการ และการออกอากาศ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และการผลิตรายการ
โทรทัศน์ ทั้งรายการสด และบันทึกเทป
6. พัฒนาสถานีและเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
7. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

ที่มา http://www.radioparliament.net

เนชั่น แชนแนล

เนชั่น แชนแนล

เนชั่น แชนแนล (อังกฤษ: Nation Channel) เป็น สถานีโทรทัศน์ข่าว 24 ชั่วโมง แห่งแรก ของประเทศไทย ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ทาง สถานีโทรทัศน์ยูบีซี ช่อง 8 โดยมีทีมข่าว 400 คน และกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในเครือเนชั่น โดยมี นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ เป็นบรรณาธิการเนชั่นทีวี บริหารงานโดย บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในเครือเนชั่นกรุ๊ป

ต่อมา ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เนชั่น แชนแนล ได้ย้ายการออกอากาศ จาก ยูบีซี 8 มาสู่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ผ่านทางระบบ MMDS ครอบคลุมรัศมีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยให้เหตุผลว่า มีอำนาจรัฐเข้าแทรกแซง นอกจากนี้ บริษัท เอ็มดีเอส ของ ออสเตรเลีย ได้ลงนามในสัญญาซื้อรายการจากเนชั่นทีวี เพื่อนำไปออกอากาศผ่านดาวเทียม และ ผลิตช่องรายการใหม่ ให้กับ สถานีโทรทัศน์ WETV จังหวัดเชียงใหม่ ทางช่อง 9 ภายใต้ชื่อ Nation Channel Chiangmai

ปัจจุบัน Nation Channel ได้ทำการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ABS-1 ในระบบ C-Band และ NSS-6 ในระบบ Ku-Band ให้ผู้ที่มีจานรับสัญญาณดาวเทียมที่อยู่ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย สามารถรับชมได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนใดๆ ทั้งสิ้น

รายการต่างๆ ของทางสถานี ที่ได้รับความนิยม อาทิ รายการ เก็บตกจากเนชั่น ที่ดำเนินรายการโดย กนก รัตน์วงศ์สกุล และ ธีระ ธัญไพบูลย์ รายการ ชีพจรโลก โดย สุทธิชัย หยุ่น รายการ คม-ชัด-ลึก ที่เคยสร้างชื่อให้กับ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ก่อนที่จะลาออกจากเครือเนชั่น หลังจากย้ายการออกอากาศ ไปยัง ไททีวี เพียงไม่ถึง 1 สัปดาห์

นอกจากนี้ ทางเนชั่นทีวี ยังมีการผลิตรายการให้กับสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีช่องต่างๆ อาทิ โมเดิร์นไนน์ทีวี (รายการ ชีพจรโลกวันนี้ ชีพจรโลกกับสุทธิชัย หยุ่น (ทุกวันจันทร์) ข่าวข้นคนข่าว จุดชนวนความคิด (ทุกวันอังคาร) ช่อง 5 (สยามเช้านี้) (รายการในอดีต; ถูกผิดคิดเอง ททบ.5,E-Life E-Business เขียวยกแผง และ ก๊วนเศรษฐกิจ โมเดิร์นไนน์ทีวี) และออกอากาศซ้ำ ทาง เนชั่นทีวี ด้วย

เนชั่น แชนแนล ถือว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการนำเสนอข่าวแบบนิวส์บาร์(News Bar) แต่เป็นการเสนอข่าวแบบพาดหัวข่าวเดี่ยว ทีละหัวข้อ โดยได้ใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ประมาณปลายปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2544
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี


เอ็มวีทีวี (MVTV)ได้รับลิขสิทธ์จากเอ็มวีทีวีประเทศลาวปัจจุบันมีมีผู้ชมในระบบ C-Band ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้บริการกว่า 800,000 ใบ และกลุ่มผู้ที่รับสัญญาณดาวเทียมระบบ C-BAND ผ่านดาวเทียม Thaicom 2/5 ที่อยู่ภายนอกประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียกว่า 20 ประเทศ และผู้ชมในระบบเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนเคเบิลโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการกว่า 450 ราย และจำนวนผู้รับชมประกว่า 2,855,300 หลังคาเรือน
วิธีรับชม เอ็มวีทีวี
สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี เป็นสถานีที่ส่งสัญญาณด้วยระบบดาวเทียม ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และอีกกว่า 22 ประเทศทั่วโลก ด้วยการส่งสัญญาณในรูปแบบดังกล่าวจึงสามารถรับชม ได้ 3 ช่องทาง คือ

1.รับสัญญาณจากดาวเทียมโดยตรงในระบบ C-BAND ผ่านดาวเทียมThaicom 2/5 โดยใช้คลื่นความถี่

Transponder : 5E Thaicom 5

Frequency :3585 MHz FEC : 3/4

Symbol rate:26.667 Msym/s

Polarize : Vertical

2.ผ่านเคเบิลทีวี

3.ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ช่องในปัจจุบัน
1.MVTV 1 - MIX Channel - ช่องภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ 24 ชั่วโมง (ชื่อเดิมเป็นช่องช่องเป็น mic)
2.MVTV 2 - Variety Channel - ช่องภาพยนตร์ชุดจีน และวาไรตี้
3.MVTV 3 - Hit Station - ช่องเพลงลูกทุ่ง 24 ชั่วโมง
4.MVTV 4 - H+Channel - ช่องสุขภาพ 24 ชั่วโมง
5.MVTV 5 - MV5 - ทีวีเพื่อประชาชน 24 ชั่วโมง
6.MVTV 6 - MV News - ช่องข่าวจาก MVTV 24 ชั่วโมง
7.MVTV 7 - Star Channel
8.MVTV 8 - MyTV - เอนเตอร์เทนเมนท์ วาไรตี้ คุณภาพตลอด 24 ชั่วโมง
9.MVTV 9 - You Channel - ช่องเพลงป๊อปและเพลงยุคเก่า 24 ชั่วโมง
10.MVTV 10- สบายดีทีวี - ช่องเพลงไทยในครอบครัว 24 ชั่วโมง
11.MVTV 11- New Channel
ช่องในอดีต
1.ที แชลแนล - ลูกทุ่งทีวี 24 ชั่วโมง ออกอากาศทางช่อง MVTV3 (ปัจจุบัน ออกอากาศทางทรู วิชั่นส์ช่อง 57)
2.ไททีวี 3 - ช่องรายการภาพยนตร์ชุดจีนและสาระบันเทิง 24 ชั่วโมง ออกอากาศทางช่อง MVTV 2 (ได้หมดสัญญากับไททีวีไปเมื่อเดือน มี.ค. 2550)
3."Sat TV"

สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี


สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอส ]



สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี (ภาษาอังกฤษ: ASTV หรือ Asia Satellite TV) เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่มีบริษัท เอเชียไทม์ออนไลน์ จำกัด เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เป็นเจ้าของ ซึ่ง บริษัท ไทยเดย์ ดอตคอม จำกัด (ปัจจุบันคือ เอเอสทีวี(ประเทศไทย)) ประเทศไทย เป็นผู้รับจ้างผลิตเนื้อหาให้กับสถานี โดยการส่งสัญญาณภาพผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังสถานีส่งสัญญานภาพขึ้นดาวเทียมที่ฮ่องกง แล้วส่งไปยังดาวเทียม NSS-6 ของ NewSkies Satellite ของ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และยิงสัญญาณภาพลงมา โดยใช้ South East Asia Beam ครอบคลุม บางส่วนของพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ บางส่วนของจีนตอนใต้ อินโดนีเซีย และบรูไน โดยสามารถรับชมได้ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียมย่าน Ku-Band ที่ความถี่ 11676 Polarization:Horizontal Symbol Rate:27500 Local Freq.:9750,10600 ทางอินเทอร์เน็ตที่ เว็บของ เอเอสทีวี หรือทางเคเบิลท้องถิ่น

สำหรับผู้ชมใน สหรัฐอเมริกา และใน ประเทศแคนาดา สามารถรับชมช่อง ASTV NEWS1 ได้ที่ดาวเทียม Intelsat Americas5 ย่านKu-Band ที่ความถี่ 12152 Polarization:Horizontal Symbol Rate:20000






ประวัติ
เอเอสทีวี เริ่มต้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 [ต้องการอ้างอิง] เมื่อบริษัท บีทีวี อาร์เอ็นที ของ พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย ได้รับสิทธิ์จากกรมประชาสัมพันธ์ ให้ขยายช่องสถานีของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เป็นช่อง 11/1 ทำรายการข่าวโทรทัศน์โดยมีรายได้จากค่าโฆษณา ถ่ายทอดผ่านดาวเทียม และเคเบิลทีวียูบีซี เป็นการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายทำรายการโทรทัศน์ช่องใหม่ โดยใช้ใบอนุญาตเดิม และหลีกเลี่ยงข้อกำหนดเดิมที่ช่อง 11 ไม่สามารถมีโฆษณาได้

พ.ต.อ.รวมนคร และผู้บริหารช่อง 11 ได้เข้ามาชักชวนนายสนธิ ลิ้มทองกุล ให้รับจ้างผลิตรายการให้ช่อง 11/1 โดยใช้ชื่อว่า 11 News1 เป็นโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และถ่ายทอดทางยูบีซี ช่อง 8 แต่ต่อมาสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 News1 ได้ถูกถอดออกจากยูบีซี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากปัญหาภายในของยูบีซี ที่ถูกร้องเรียน และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโฆษณาแฝง

เมื่อไม่สามารถถ่ายทอดสัญญาณผ่านสัญญาณของยูบีซีได้ และเหลือเพียงแต่การถ่ายทอดผ่านทางดาวเทียม นายสนธิ ลิ้มทองกุล จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปที่คนไทยในต่างประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา และเปลี่ยนชื่อเป็น Asia Satellite TV หรือ ASTV โดยมีช่องหลักที่เป็นจุดขาย คือช่อง NEWS1 ซึ่งมาจากช่อง 11 News1 เดิมนั่นเอง ทั้งนี้ การนำเสนอข่าวของช่อง NEWS1 ทาง ASTV มักจะเน้นน้ำหนักการเสนอข่าวไปที่ข่าวการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเป็นเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมือง

และเมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุลเริ่มประกาศตนว่าไม่เห็นด้วยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้ในช่วงของการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอเอสทีวีถูกตัดสัญญาณดาวเทียมของไทยคม[ต้องการอ้างอิง] จึงต้องเปลี่ยนวิธีการออกอากาศโดยส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไปที่ฮ่องกง และใช้สัญญาณดาวเทียมของเนเธอร์แลนด์ ถ่ายทอดกลับมาที่ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และอนุญาตให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นในประเทศไทย นำสัญญาณไปถ่ายทอดต่อ และให้ควายทั่วไปสามารถรับชมผ่านทางเว็บไซต์ได้

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 มีความพยายามจากกรมประชาสัมพันธ์ ที่จะปิดรายการของเอเอสทีวี ด้วยข้อหาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายควบคุมวิทยุโทรทัศน์ มีการฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองได้มีคำสั่งศาลให้ความคุ้มครอง โดยให้เหตุผลว่า เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะจากสื่อมวลชน และศาลปกครองต่อมา ได้มีคำพิพากษาให้เอเอสทีวีชนะคดี

ในปี พ.ศ. 2551สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีได้ทำการถ่ายทอดสดการการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผ่านทางช่องนิวส์วัน รวมไปถึงช่องที่สังกัดเอเอสทีวี ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวม193วัน

ปลายปีพ.ศ. 2551 หลังการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเอเอสทีวีได้เปลี่ยนสโลแกนใหม่คือ เอเอสทีวีทีวีของประชาชน

สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ได้รับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระหน้าที่ พนักงาน คลื่นความถี่ ลิขสิทธิ์จาก สทท. และสถานีโทรทัศน์ช่องนิวส์วัน ของ พล.ต.อ.รวมนคร มาเป็นของเอเอสทีวี ช่องนิวส์วัน อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

[แก้] ช่องต่างๆของ ASTV
เดิม ASTV มีช่องโทรทัศน์ 8 ช่อง และมีแผนขยายอีก 4 ช่องในปี พ.ศ. 2549 โดยมีช่องโทรทัศน์ดังนี้

NEWS1 สถานีข่าว 24 ชั่วโมง แห่งที่สองของเมืองไทย (เดิมคือ 11 NEWS1)
Thailand Outlook Channel (TOC) สถานีข่าวภาคภาษาอังกฤษ
E-San Discovery สถานีโทรทัศน์วัฒนธรรมอีสาน
Metro Life Channel สถานีโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตประจำวันในสังคมเมือง
ME TV (Music and Entertainment) สถานีโทรทัศน์ที่เน้นเรื่องเพลง มิวสิกวิดีโอ หนังสั้น
Body & Mind Channel สุขภาพกาย สุขภาพจิต
Manager Bizz สถานีที่นำเสนอเรื่องราวธุรกิจ
Thai Muslim Network สถานีโทรทัศน์ที่เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับมุสลิม และอิสลาม
ASTV Radio วิทยุผ่านดาวเทียม
ปัจจุบัน ASTV ปิดให้บริการช่องต่างๆที่กล่าวไปในขึ้นต้น และได้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยมีช่องดังต่อไปนี้

1.NEWS1 สถานีข่าว 24 ชั่วโมง
2.TAN-NETWORK ( THAILAND-ASEAN NEWS NETWORK ) สถานีข่าวภาคภาษาอังกฤษ
3.Super บันเทิง
4.esan TV สถานีโทรทัศน์วัฒนธรรมอีสาน
5.FE.TV สถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดิน (กองทัพธรรมเป็นผู้ผลิตรายการ)
6.ช่องเถ้าแก่
ทั้งนี้เนื่องจากประสบปัญหาสภาพคล่อง ตามธุรกิจอื่นๆในเครือผู้จัดการ ซึ่งแบกรับภาระหนี้ไว้กว่า 6000 ล้านบาท และมียอดขาดทุนสะสมติดต่อมาเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันเอเอสทีวีกำลังระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยการขายหุ้น ASTV ในราคาหุ้นละ 1,000 บาท ซึ่งได้จำหน่ายไปแล้วหลายหมื่นหุ้น