วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

จับตาอนาคตทีวีไทย กับทีวีระบบดิจิตอล


          ขณะนี้หลายฝ่ายกำลังตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการโทรทัศน์เมืองไทย หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เผยว่า ได้เริ่มวางโครงการประมูลคลื่นโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ประชาชนชาวไทยมีฟรีทีวีดูมากกว่า 24 ช่อง และคาดว่าภายใน 8 ปี หรือ ใน พ.ศ. 2563 จะมีการยกเลิกระบบอนาล็อกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ทำให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ จึงต้องเริ่มปรับตัวเพื่อเตรียมรองรับระบบใหม่ที่กำลังจะมาถึง ทว่า ทีวีจิตอล คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำไมการเปลี่ยนแปลงระบบในครั้งนี้ถึงดูยุ่งยากวุ่นวายนัก วันนี้เรามีคำตอบมาฝากจ้า

โทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital television) หรือที่เราเรียกกันว่า ทีวีดิจิตอล คือการส่งผ่านของคลื่นเสียงและวิดีโอโดยใช้สัญญาณดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง และสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ ดังที่เรียกว่า มัลติแคสติ้ง (Multicasting) ฉะนั้น แม้ตัวภาพและเสียงจะคมชัดกว่าแบบอนาล็อก แต่ก็ต้องใช้โทรทัศน์ระบบ HDTV รวมถึงติดตั้งกล่องรับสัญญาณด้วย แต่ข้อดีของระบบดิจิตอล คือ รองรับการใช้งานในรูปแบบสื่อผสมต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งจะทำให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการได้ทุกที่ไม่มีสะดุด

  แต่การเปลี่ยนระบบในครั้งนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ทีวีดิจิตอล ทั้ง 24 ช่องนี้ สามารถดูผ่านจานรับดาวเทียมได้เหมือน ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยทีพีเอส หรือไม่ แต่ถ้าดูผ่านจานรับดาวเทียมไม่ได้ คำถามใหม่ คือ สำหรับผู้ที่ติดจานดาวเทียมไปแล้วจะทำอย่างไร ระหว่างซื้อกล่องรับสัญญาณเพื่อดู 24 ช่อง หรือดูผ่านทีวีดาวเทียม 200 ช่อง นอกจากนี้ก็ยังมีคำถามอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย และเพื่อให้ได้รู้จักระบบดิจิตอลกันมากขึ้น เราได้สรุปข้อดีข้อเสียของระบบคร่าว ๆ มาดังนี้

ข้อดีของระบบดิจิตอล

         - ภาพและเสียงคมชัด เพราะไม่มีคลื่นแทรก หรือการสะท้อน
         - มีช่องรายการหลากหลายให้เลือกรับชม
         - ควบคุมสัญญาณได้ง่าย ทำให้เปิดบริการเสริมได้ เช่นเดียวกับระบบเคเบิ้ลรายเดือน
         - สามารถพัฒนาประสิทธิภาพได้ เช่น การรับชมผ่านโทรทัศน์จอกว้าง (WIDE SCREEN) โทรทัศน์ความคมชัดสูง (HDTV)  รวมทั้งการรับชมผ่านทางสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต

ข้อเสียของระบบดิจิตอล
         - ควบคุมโฆษณาที่เผยแพร่ผ่านช่องรายการต่าง ๆ ได้ยากขึ้น
         - อาจกลายเป็นช่องทางที่ใช้เพื่อปลุกระดมความขัดแย้งทางการมือง
         - มีค่าใช้จ่ายในการซื้อกล่องรับสัญญานมาติดตั้ง
         - มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนจอโทรทัศน์เพื่อให้รองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

 สำหรับประเด็นการควบคุมการเผยแพร่โฆษณาผ่านทางดิจิตอลทีวีนั้น คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค มั่นใจว่า โฆษณาทางฟรีทีวี หรือ ช่องดิจิตอลนี้ จะควบคุมได้ง่ายกว่า ช่องเคเบิ้ล และทีวีดาวเทียม เพราะเป็นช่องที่เกิดใหม่พร้อมกับกติกาของ กสทช.  และจำนวนนาทีในการโฆษณาจะมีน้อยกว่า ส่วนกรณีที่อาจมีการผลิตรายการเพื่อปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก เกลียดชังนั้น รายการเหล่านี้ก็ต้องปรับผังรายการให้เข้ากับเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้ใบอนุญาต เป็นต้น

         ในส่วนของการซื้อกล่องรับสัญญาณภาพนั้น เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา กสทช. มีมติเห็นชอบในแนวทางการแจกคูปองให้กับ 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อกล่องรับสัญญาณ (Set top box) ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นกระบวนการเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบในการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลในประเทศไทย

         นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงระบบทีวีอนาล็อกมาสู่ทีวีดิจิตอลนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนรายใหม่ ๆ หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อกันมากขึ้น และเป็นการลดการผูกขาดสื่อทีวีลงจากเดิม ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นได้รับประโยชน์จากเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงระบบ ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแนวทาง รวมถึงอยู่ระหว่างการทดสอบสัญญาณ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการที่ติดตั้งเคเบิ้ลทีวี หรือจานดาวเทียมต่าง ๆ หรือไม่ ดังนั้นคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ทาง กสทช .จะมี บทสรุปเรื่องการปรับเปลี่ยนสัญญาณในครั้งนี้อย่างไรต่อไป   ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บไซต์ กสทช ต่อไปครับ


ที่มา .. http://tnews.teenee.com/etc/91072.html

workpointTV วาไรตี้เต็มจอ


workpointTV  เป็นสถานีโทรทัศน์ของ บริษัทเวิร์คพอยต์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด เป็รายการประเภทวาไรตี้ ออกอากาศ 24 ชั่วโมง หลากหลายช่องทาง เช่น ทางจานรับสัญญานซีแบนด์ และเคยูแบนด์ ทางระบบทรูวิชันส์ และเคเบิลทีวีท้องถิ่น ทั่วประเทศ



ดูผังรายการ WorkPoint TV
www.workpointtv.com/

โทรทัศน์ระบบดิจิตอลคืออะไร

โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital television) คือการส่งผ่านของเสียงและวิดีโอโดยสัญญาณดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบแอนะล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Multicasting การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV ตรงกันข้ามอะนาล็อกก็ใช้กับสัญญาณโทรทัศน์อะนาล็อก หลายประเทศจะเปลี่ยนการรับสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เพื่อออกอากาศโทรทัศน์แบบอะนาล็อกได้ จึงใช้วิทยุคลื่นความถี่เดิม โทรทัศน์แต่เดิมใช้ระบบอนาลอก (analog) หรือเชิงเส้นทั้งในภาคการส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณ แต่ต่อมาเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์นำมาพัฒนาใช้ในการช่วยโทรทัศน์ แต่ต่อมาได้มีผู้เล็งเห็นว่าหากนำ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีของโทรทัศน์ คงจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลคอมพิวเตอร์นั้นใช้ส่งสัญญาณ และรับสัญญาณในระบบดิจิตอล ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงโทรทัศน์ให้ใช้ระบบดิจิตอลด้วย เนื่องจากโทรทัศน์ใช้กันทั่วโลก การเปลี่ยนระบบจากอนาลอกเป็นระบบดิจิตอล จึงต้องเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการสหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) กำลังประชุมกันอยู่ โดยกำหนดมาตรฐานดังนี้ 1.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting Satellite System) , 2.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านสายเคเบิล (DVB-C the digital cable eleliverly system) และ 3. ระบบแพร่ภาพดิจิตอลภาคพื้นดิน (DVB-T the Digital Terrestrial Television System)

กลไกการทำงาน

เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ ลักษณะการยิงลำแสง แบ่งได้ 2 แบบ คือ Interlaced Scanning และProgressive Scanning[1]
  • 480i/576i (SDTV) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบดิจิทัล[2]
  • 480p/576p (EDTV) เป็นโทรทัศน์ที่มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น (Enhanced Definition Television) หรือEDTV ที่ให้ภาพชัดเจนใกล้เคียงกับ HDTV ซึ่งดีกว่าที่รับชมกันในขณะนี้และทุกวันนี้สามารถ เล่นแผ่นดีวีดีทั้งหมดกับ EDTV ได้
  • 720p (HDTV) เป็น HDTV format ที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับ 1080i แต่ก็ยอมให้ส่งสัญญาณ 480p ได้ด้วย
  • 1080i (HDTV) เป็น HDTV image ที่มีคุณภาพของภาพที่คมชัดซึ่งเป็นแบบที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์ใช้อยู่

[แก้]ดิจิตอล คือ อะไร

ดิจิต แปลว่า นิ้ว ในสมัยโรมันการคิดเลขใช้วิธีนับนิ้ว ดังนั้น อะไรที่ใช้คิดเลขก็จะเรียกว่า ดิจิตอล เนื่องจากนิ้วมี 10 นิ้ว การนับจึงเรียกว่าเลขฐาน 10 คือ นับ ตั้งแต่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,0 เมื่อถึง 0 แล้วจะนับต่อต้องเอาเลขมาเรียงกันก็จะได้ 10,11,12,13,14,15 เป็นต้น มีวิธีนับอีกวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า เลขฐาน 2 คือ 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 2 นี้จะเรียงต่อกันไปและเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 ได้เช่น 0 เท่ากับ 0 , 1 เท่ากับ 1 , 10 เท่ากับ 2 , 11 เท่ากับ 3 เป็นต้น ตัวเลข 0 และ 1 ที่วิ่งตามกันเป็นแถวก็จะสามารถปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ถูกต้องได้ไม่ยาก เพราะไม่ใช่ 0 ก็ต้องเป็น 1 ไม่ใช่ 1 ก็ต้องเป็น 0 คอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิตอล คือ เลข 0 และ เลข 1 เวลาส่งสัญญาณก็แปลงเป็นไฟฟ้าก่อน ที่ใดมีสัญญาณ 0 คือ ปิดสวิทซ์ ถ้าเปิดสวิตซ์ สัญญาณก็จะเป็น 1 ด้วยวิธีการเปิด และปิดสวิตซ์นี้ เราก็สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลได้ การเปิดและปิดสวิตซ์นี้ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เปิด-ปิดได้เร็วและเรียบร้อย

[แก้]คอมพิวเตอร์เข้ามาในโทรทัศน์ได้อย่างไร

ในระยะแรกคอมพิวเตอร์เข้ามาในวงการโทรทัศน์เพื่อมาช่วยในบริหารและการจัดการ เช่น คิดบัญชี ทำบัญชีสิ่งของ ทำบัญชีบุคลากร และการใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน เป็นต้น ต่อมาก็ใช้ในการทำระบบอัตโนมัติในสำนักงาน ใช้ในการช่วยส่งข่าวบ้าง ใช้ในการบันทึกข้อความบ้าง ต่อมาเมื่อมีระบบกราฟิกเข้ามา ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวอักษรและทำกราฟิคต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณาต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณา ภาพพิเศษต่างๆ ภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นทำได้สวยงามวิจิตรพิสดารเป็นอย่างมาก เช่น ภาพนกกินหยดน้ำ นกที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์สวยยิ่งนัก ทำให้เกิดภาพอื่นๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายแบบ จนกระทั่งทำให้ภาพนิ่งเคลื่อนไหวได้ (Animation) ตัวการ์ตูนตัวเดียว สามารถเคลื่อนไหวได้สารพัด ทำให้ สามารถสนองตอบจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน ได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพราะดิจิตอลสามารถเปลี่ยนแปลง และแปรผันได้ตามโปรแกรมที่จัดเข้ามา
การบันทึกภาพในระบบอนาลอกนั้น เมื่อนำไปกระทำซ้ำต่อกันหลายครั้ง ภาพจะมีคุณภาพลดลง คือ ไม่ชัดเท่ากับต้นฉบับ แต่ในระบบดิจิตอลนั้นแม้จะนำไปกระทำซ้ำ ต่อเนื่องกันหลายสิบครั้งภาพก็ยังคงมีคุณภาพคงเดิม ด้วยข้อดีนี้จึงมีการนำเอาระบบดิจิตอล มาใช้ในเครื่องบันทึกภาพโทรทัศน์และเครื่องบันทึกภาพ แบบอื่นๆ ต่อมาได้มีการพัฒนากล้องโทรทัศน์ให้เป็นระบบดิจิตอลบ้าง การนำเอาดิจิตอลมาใช้กับกล้องโทรทัศน์นี้ มิใช่ว่าจะทำให้คมชัดอย่างเดียวเพราะกล้องที่คมชัดมากๆ ภาพจะไม่สวย เพราะจะเห็นสิวฝ้า ตลอดจนรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ชนิดที่เจ้าของหน้าเห็นเข้าอาจเป็นลมไปเลยก็ได้ แต่ดิจิตอลมีข้อดีตรงที่บังคับ และเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่มอัตโนมัติ ใบหน้าที่เต็มไปด้วยสิวและรอยเหี่ยวย่นก็จะกลายเป็นหน้าที่มีผิวสีชมพูระเรื่อ ผิวเนียนอย่างนางงามผิวเนียนอะไรอย่างนั้น แต่ก็จะเป็นเฉพาะบางกล้องเท่านั้น เพราะกล้องดิจิอตอลที่คุณภาพต่ำก็มี แตถ้าคุณภาพสูง ภาพจะสวยแต่ราคาก็จะแพงมากเช่นกัน
เมื่อกล้องก็เป็นดิจิตอลแล้วอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องตัดต่อภาพ เครื่องลำดับภาพ เครื่องทำภาพพิเศษ เครื่องกำเนิดสัญญาณซิงค์ เครื่องกระจายสัญญาณและเครื่องควบคุมอื่นๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นดิจิตอลไปด้วยรวมถึงทั้งอุปกรณ์ห้องส่ง หรืออุปกรณ์ห้องผลิตรายการทั้งหมด แม้แต่การบังคับไฟที่ให้แสงในการถ่ายทำก็บังคับด้วยดิจิตอล รวมความแล้ว่าระบบในห้องส่งโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบเป็นดิจิตอลทั้งหมด สายที่ส่งสัญญาณเข้ามาก็ถูกเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล แต่การส่ง สัญญาณ จากสถานีไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านผู้ชมนั้นยังไม่ได้ ใช้ระบบดิจิตอล เพราะเครี่องรับโทรทัศน์ของผู้ชมยังเป็นอนาลอกอยู่ การที่จะเปลี่ยนเครื่องรับหลายพันล้านเครื่องให้เป็นระบบดิจิตอล โดยโยนเครื่องเก่าทิ้งหมดนั้นทำไม่ได้ เป็ฯการเดือดร้อนต่อประชาชนผู้รับชมแต่ความจำเป็นในการเปลี่ยนระบบก็ยังคงมีเพราะทุกวันนี้ความถี่วิทยุมีจำนวนจำกัด ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ตลอดจนการสื่อสารต่างๆ เกิดขึ้นทุกวันจึงมีความจำเป็นต้องใช้ความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นระบบดิจิตอลจึงสามารถตอบรับความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดีเพราะระบบดิจิตอลสามารถบีบอัดความกว้างของช่องสัญญาณให้ลดลง ทำให้สามารถเพิ่มช่องทางการส่งสัญญาณได้อีกมากมาย
ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม 1 ดวงมี ช่อง สัญญาณดาวเทียม 12 ช่องสัญญาณถ้าจะส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกไม่มีการบีบอัดสัญญาณจะส่งได้ ทั้งหมด 24 ช่องโทรทัศน์ คือ 2 ช่องต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลและมีการบีบอัดสัญญาณ (Compression) จะสามาระส่งได้ถึง 10 ช่อง โทรทัศน์ต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมดวงหนึ่ง 12 ทรานสปอนเดอร์ จะส่งโทรทัศน์ได้ถึง 120 ช่อง สายเคเบิลก็เช่นเดียวกัน ถ้าส่งในระบบอนาลอกก็จะส่งได้น้อยช่องกว่าส่งด้วย

[แก้]ระบบดิจิตอลที่มีการบีบอัดสัญญาณ

การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้เริ่มต้นโดยการส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียมและโทรทัศน์ทางสาย หรือ เคเบิลเทเลวิชั่น (Cable Television) และเนื่องจากระบบดิจิตอลนี้ ควบคุมได้ง่าย การสั่งการก็ง่าย จึงเกิดโทรทัศน์ 2 ทางขึ้นและเกิดรายการ เปย์เปอร์วิว (Pay Per View) หรือการรับชมรายการที่ต้องจ่ายเงินเป็นรายเรื่อง และเนียร์วีดิโอออนดีมานด์ (Near video on Demand) คือการรับชมตามเวลาที่กำหนดโดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนและ วิดิโอออนดีมานด์ (Video on Demand) คือ การรับชมรายการใดก็ได้ตามรายการที่ระบุไว้โดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน
ส่วนการรับสัญญาณนั้นก็จำเป็นจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้อยู่เดิมรับได้ด้วย ดังนั้นหากใครต้องการที่จะรับโทรทัศน์จากดาวเทียมก็ต้องมีจานรับประกอบกับอุปกรณ์ร่วม คือ กล่องไออาร์ดี (IRD) ซึ่งต้องนำมาติดตั้ง กับเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะสามารถรับโทรทัศน์ จากดาวเทียมในระบบดิจิตอลได้ ซึ่งเรารู้จักกันในนาม ดีทีเอช ( DTH ) หรือ ไดเร็คทูโฮม ( Direct to home ) โดยจานจะรับสัญญาณจากดาวเทียมมาขยายและส่งเข้ากล่องไออาร์ดี กล่องนี้จะแปลงสัญญาณดิจิตอลจากดาวเทียมให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์ ในระบบอนาล็อกแล้วส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์
ส่วนระบบเคเบิลทีวีก็มีกล่องอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมเช่นกัน เรียกว่าเซททอปบ๊อก (Set top box) กล่องนี้ก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกและเปลี่ยนช่องสัญญาณส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนการควบคุมการใช้ทางเคเบิลทีวีก็จะควบคุมจากรีโมทคอนโทรลและเนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล การควบคุมก็จะทำได้อย่างสะดวก การสั่งฉายภาพยนตร์เรื่องที่ต้องการก็สามารถสั่งได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือเปลี่ยนช่องสัญญาณได้ง่ายการปรับแต่งต่าง ๆ ทำได้ง่าย ๆ

การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (Digital)

เดิมทีการส่งโทรทัศน์จะส่งในระบบอนาลอก ( Analog ) แต่เมื่อมีสถานีส่งโทรทัศน์มากขึ้นก็เกิดปัญหาการรรบกวนเกิดขึ้น เพราะความถี่มีจำนวนจำกัด การส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกนั้น ในเมืองเดียวกันจะส่งความถี่ใกล้เคียงกันไม่ได้ ต้องส่งช่องเว้นช่อง เช่นใน กทม. ส่งช่อง 3 5 7 9 11 จะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 ไม่ได้ ถ้าจะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 จะต้องส่งให้ห่างจาก กทม. อย่างน้อย 200 กม. เช่นที่ นครสวรรค์ ระยอง หรือ ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก อาทิ
1. สัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กอื่น ๆ ทำให้ภาพไม่คมชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องต่ำ
2. สัญญาณที่ส่งมาจากสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์อื่น ๆ มารบกวนทำให้รับไม่คมชัด
3. สัญญาณที่สะท้อนจากตึก สิ่งปลูกสร้าง หรือภูเขาทำให้เกิดเงาที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ ทำให้ได้รับไม่ ชัดเจนและน่ารำคาญ
4. เนื่องจากไม่สามารถบีบอัดสัญญาณได้ จึงต้องใช้ความถี่มากทำให้มีสถานีได้น้อย
5. การที่จะส่งสัญญาณอื่น ๆ ร่วมไปด้วยทำได้โดยยาก
ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก แต่เหตุผลที่สำคัญคือ การมีช่องสัญญาณน้อยไม่พอใช้ จึงต้องนำระบบดิจิตอล มาแก้ปัญหาเพื่อให้มีช่องสัญญาณออกอากาศรายการได้มากขึ้น

ประโยชน์ของการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้ประโยชน์หลายประการ เช่น
1.ทำให้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้มากขึ้น เช่น เดิม 1 ช่องใช้ได้ 1 รายการ เมื่อหันมาใช้ระบบดิจิตอล มีการบีบอัดสัญญาณ ( Digital Compression ) ก็จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม
2. ให้บริการเสริมได้ ( ถ้ากฎหมายอนุญาต )
3. สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับโทรทัศน์บนรถยนต์ได้ชัดเจนในบางความถี่
4. สามารถให้บริการฟรี ( Free to Air ) หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้
5. ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศต่อ 1 รายการลดลง เพราะเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ
6. พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรับกับวิวัฒนาการของการส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคต เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN ) โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV )
7. ประหยัดพลังงานในการส่งโทรทัศน์ เนื่องจากเครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง
8. คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา การรบกวนน้อย เพราะถ้าจะรับได้ชัดก็ชัดเลยแต่ถ้าอยู่ในที่รับไม่ชัดก็จะรับไม่ได้ ดังนั้นหากต้องการรับชมก็ต้องขวนขวายหาวิธีรับจากทางอื่น เช่น จากเคเบิลทีวี หรือจากดาวเทียม ซึ่งถ้ารับได้ก็จะได้ชัดเจนไม่มีเงาและสิ่งรบกวน หรือถ้ามีการรบกวนก็จะมีในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก

การรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
เมื่อมีการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เป็นการส่งในเชิงตัวเลข แต่เครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นเครื่องรับแบบอนาลอก ซึ่งมีอยู่มากมาย ทั่วโลกนับพันล้านเครื่อง เฉพาะในประเทศไทยมีถึง 15,586,000 เครื่อง ( ตามข้อมูลของสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ) ถ้าจะให้ทิ้งเครื่องรับโทรทัศน์เก่าทั้งหมด ก็จะเป็นปัญหาแน่ คือ
1. จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อเครื่องใหม่ซึ่งจะประมาณเท่ากับ 15 ล้าน คูณด้วย 1 หมื่นบาท เท่ากับ 1 แสนห้าหมื่นล้านบาท
2. การที่จะสร้างเครื่องรับ 15 ล้านเครื่องในวันเดียวกันนั้นทำไม่ได้ดังนั้นจึงต้องใช้เครื่องรับโทรทัศน์เก่าไปก่อนและ แก้ปัญหาโดยทางสถานีโทรทัศน์ส่งสัญญาณทั้งในระบบอนาลอกแบบเดิม และส่งในระบบดิจิตอลควบคู่กันไป ผู้ใดที่ต้องการรับในระบบอนาลอกกรับไป ผู้ใดต้องการรัรบในระบบดิจิตอลก็รับไป
การรับสัญญาณในระบบดิจิตอลใช้เครื่องรับในระบบอนาลอกธรรมดานั้นเพียงแต่ติดเซททอป (SET TOP) ไว้ที่ด้านหน้าเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาลอกก่อนที่รับสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณออกให้เท่าเดิมจึงจะรับกันได้ หรือมีเครื่องที่รับได้เฉพาะสมาชิกบอกรับก็จะต้องมีเครื่องถอดรหัสสมาชิกบอกรับด้วย
ปัญหาที่จะเกิดก็คือเครื่องเซททอป (SET TOP) ราคายังค่อนข้างแพง ถ้าเครื่องนี้มีราคาถูกลงก็จะทำให้คนรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมากขึ้น ผู้ประกอบการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องส่งออกอากาศให้ได้ ทุกฝ่ายก็ต้องหาทางเอาเองเช่น
1. ทำเครือข่ายเล็ก ๆ ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเครื่องรับแล้วมีไม่เกิน 1000 เครื่อง ค่าใช้จ่ายก็คงไม่มาก
2. ในที่ที่ไม่สามารถจะส่งระบบอนาลอกได้จริง ๆ ก็จำเป็นที่จะส่งในระบบดิจิตอล เช่น ในท้องถิ่นที่ความถี่เต็มแล้วหรือโทรทัศน์ท้องถิ่น เป็นต้น
3. ทางด้านการศึกษาซึ่งต้องการรายการมาก เนื่องจากมีหลายสาขาสวิชาและแต่ละสาขาก็มีวิชาที่จะต้องสอนอย่างหลากหลาย ดังนั้นการที่จะไปสร้างสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินตั้ง 20 ช่อง ก็คงไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลไปยังผู้รับชมกลุ่มเป้าหมายจำนวนจำกัดก็คงไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก
4. สถานีที่ทำไว้เพื่อความทันสมัยในวันข้างหน้า ควรทำการส่งในระบบดิจิตอลทางภาคพื้นดินขนาน ไปกับการส่งในระบบอนาลอกด้วย รายการเดียวกัน อาทิเช่น สถานโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในอนาคต ข้างหน้าอาจส่งออกอากาศทั้ง 2 ระบบ ดังนั้นใครรับช่อง 3 ไม่ชัดก็สามารถหันไปรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ ทำให้ประชาชนมีทางเลือก ระยะแรกคนที่รับดิจิตอลก็อาจมีไม่มากนัก แต่เมื่อเซททอปมีราคาถูกลงหรือมีผู้ทำเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับได้ทั้งอนาลอกและดิจิตอลในตัวของมันเองขึ้นมา ราคาก็คงจะไม่แพงมากนัด เหมือนกันซื้อเครื่องรับธรรมดากับเครื่องรับที่รับได้ทุกระบบทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งผู้ซื้อไม่รู้สึกว่าแพงเลย แต่มีความคมชัดมาก
5. โทรทัศน์ 2 ทาง ซึ่งใช้ในการศึกษา การแพทย์ การประชุมทางไกล และอื่น ๆ ที่ใช้ดิจิตอล
6. มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน วิทยาลัย กิจการทหารและกิจการพิเศษบางอย่างจะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการนำเสนอรายการมากรายการ
7. โทรทัศน์ท้องถิ่นจะใช้ดิจิตอล เพราะเป็นเครื่องส่งเล็กสามารถใช้ความถี่ซ้ำกันได้
8. โทรทัศน์พิเศษอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์เพื่อคนพิการ โทรทัศน์เพื่อการกีฬา จะใช้ดิจิตอล เพราะสามารถส่งข้อมูลอื่นควบคู่ไปได้ด้วย
9. โทรทัศน์โรงแรมซึ่งมีรายการพิเศษเฉพาะในโรงแรมของตนจะใช้ระบบดิจิตอล เพราะความสามารถให้ความหลายหลายทางด้านรายการกับผู้มาใช้บริการและที่สำคัญค่าใช้จ่ายต่อรายการถูกกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
10. โทรทัศน์สมาชิกบอกรับ จะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการช่องรายการมาก
11. โทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง (HDTV)
12. โทรทัศน์กิจการพิเศษ ซึ่งใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายในเชิงปิดลับจะใช้ดิจิตอล
13. โทรทัศน์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม (Telecom Network) เช่น อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

[แก้]โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในไทย

ในประเทศไทยจะใช้ DVB เป็นมาตรฐานหลักในการออกอากาศระบบดิจิทัล ทั้งภาคดาวเทียม และเคเบิล (DVB-S, DVB-C) ที่มีผู้ให้บริการหลายราย ทั้งแบบบอกรับสมาชิก และแบบซื้อขาดไม่มีรายเดือน ส่วนภาคพื้นดินนั้นเดิมทีจะใช้ระบบ DVB-T ซึ่งเคยมีการทดสอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 จากตึกใบหยก 2 แต่ความล้าช้าของการออกกฎหมายกสช ผ่านมา 10 ปี เทคโนโลยี DVB พัฒนาดีขึ้น ประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนจึงมีการตกลงจะใช้ระบบ DVB-T2 ประเทศไทยต้องรอการอนุญาตจากกสทชก่อน ซึ่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา[3] เพื่อเริ่มนำร่องโครงการทดลอง ดิจิทัล ทีวี ภาคพื้นดิน และในรูปแบบโทรศัพท์ที่สามารถดูโทรทัศน์ได้ เป็นลำดับแรกในเดือนมิถุนายน 2555[3] การทดลองดิจิทัลทีวี DVB-T2 เคยทดลองมาแล้วโดยช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2554[4] และจะยุติระบบอะนาล็อกในปี พ.ศ. 2558 -พ.ศ. 2563

มาตรฐานการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีการส่งในมาตรฐานต่างกัน เช่น
1.ประเทศอเมริกาใช้มาตรฐาน เอทีเอสซี (ATSC) ซึ่งย่อมาจาก อเมริกัน แอดวานซ์ เทเลวิชั่น ซิสเต็ม ( AMERICAN ADVANCE TELEVISION SYSTEM ) ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1998
2.ยุโรป ใช้มาตรฐาน ดีวีบี (DVB) ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอ บรอดคาสติ้ง ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING ) ติดตั้งและใช้งานในปี 1998
3.ญี่ปุ่นใช้มาตรฐาน ไอเอสดีบี (ISDB) ย่อมาจากคำว่า อินทีเกรดเต็ด เซอร์วิส ดิจิตอล บรอดคาสติ้ง (INTEGRATED SERVICE DIGITAL BROADCASTING) ในปี ค.ศ.1998
ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ได้เริ่มทดลองใช้งานหรือศึกษาว่าจะใช้ระบบใด เช่น จีน ไต้หวัน ใช้ระบบอเมริกัน (ATSC) กลุ่มประเทศยุโรป สแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ใช้ระบบ ดีวีบี (DVB) สำหรับสิงคโปร์ติดตั้งและทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบ คือทั้งอเมริกัน (ATSC) และยุโรป (DVB) ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะค้าขาย 2 ระบบนี้ ผ่านประเทศของตนเองสำหรับลูกค้าในภูมิภาคนี้ เพราะเล็งเห็นว่าลูกค้าสามารถจะไปดูตัวอย่างสถานีที่สิงคโปร์ได้ง่ายเพราะใกล้กว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่า และสิงคโปร์ก็สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้อย่างสบาย และเนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีความประสงค์จะแข่งขันกับญี่ปุ่นจึงไม่นำระบบของญี่ปุ่นมาติดตั้ง ส่วนประเทศไทยจะคิดอย่างไรก็ไม่ทราบ ขอกราบเรียนว่าน่าจะใช้ระบบเดียวกันก็จะดี เพราะจะเป็นผลดีกับประชาชน จะได้ไม่ต้องซื้อเครื่อง 2 ระบบ อย่างระบบเสียง 2 ภาษาซึ่งมี 2 ระบบอย่างทุกวันนี้ ส่วนถ้าจะคิดค้าขายแบบสิงคโปร์ก็ควรจะตั้งสถานีระบบอเมริกันเพียงสถานีเล็กสถานีเดียวก็พอ เรื่องนี้สุดแต่จะพิจารณา

[แก้]ระบบการส่งและการรับโทรทัศน์

การส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะเป็นดังนี้
1. การส่งและรับโทรทัศน์ในระบบอนาลอกโดยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television)
2. การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Digital Terrstrial Television)
3. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบอนาลอก
4. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบดิจิตอล
5. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับ ชนิดไร้สาย หรือระบบมัลติพอยท์ มัลติแชนแนล ดิสทริบิวชั่น ซีสเต็ม (Multipoint Multichannel Distribution System) หรือ MMDS เป็นการส่งโทรทัศน์โดยใช้คลื่นผ่านไมโครเวฟเป็นตัวกระจายคลื่น 1-2.3 จิกะเฮิรตซ์ ความถี่ย่านนี้จะรับโดยใช้ระบบอนาลอก
6. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับชนิดไร้สาย หรือ MMDS โดยใช้ระบบดิจิตอล
7. การส่งเคเบิลทีวีชนิดใช้สายในระบบอนาลอก
8. การส่งเคเบิลทีวีชนิดใช้สายในระบบดิจิตอล
9. การให้บริการโทรทัศน์โดยผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมในระบบดิจิตอล
10. การส่งโทรทัศน์โดยการบีบอัดสัญญาณในระบบดิจิตอล ผ่านดาวเทียม
11. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง ( Interactive Television ) ในระบบดิจิตอล
12. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง โดยผ่านดาวเทียมทางหนึ่ง และผ่านเคเบิลใยแก้อีกทางหนึ่ง
13. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านดาวเทียม (HDTV VIA SATELLITE)
14. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านเคเบิลในระบบดิจิตอล

ที่มา วิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5