วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
มงคลแชนแนล
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม มงคล แชนแนล (Mongkol Channel) เป็นสถานีโทรทัศน์ความบันเทิง 24 ชั่วโมง ที่เติมเต็มไปด้วยความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพยนตร์ไทย และภาพยนตร์จากทั่วทุกมุมโลก ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องของบริษัท สหมงคลฟิลม์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด พร้อมทั้งยังนำเสนอด้วยเรื่องราว สาระความบันเทิง ข้อมูลข่าวสารในวงการภาพยนตร์ทั้งเบื้องลึก เบื้องหลัง ทั้งไทยและเทศ ตลอดจนรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ ออกอากาศแบบ Free TV ตลอดทั้งวันเพื่อให้ผู้ชมรายการทุกท่านเข้าถึง และเพลิดเพลิน เต็มอิ่มกับสาระบันเทิงและภาพยนตร์ที่มีคุณภาพภายใต้สโลแกน " ความสุขของทุกคน มงคล แชนแนล”
สถานีโทรทัศน์มงคล แชนแนล (Mongkol Channel) แพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง
ช่องทางการรับชม
สามารถรับชมได้ 3 ระบบ
1. รับชมด้วยการติดตั้งจานรับดาวเทียม C-Band (ขนาด 1.5 เมตรขึ้นไป) โดยหันจานรับไปยังดาวเทียม Thaicom 5 และทำการปรับจูนสัญญาณดังนี้
Transponder : 4E
Frequency : 3545 MHz
FEC : 5/6
Symbol Rate : 30000 Msyn/s
Polarize : Vertical
2. รับชมด้วยการสมัครเป็นสมาชิกจากสถานีโทรทัศน์ทางสาย(เคเบิลทีวีท้องถิ่น) ลำดับช่องเลขที่ 19 ทั่วประเทศกว่า500 สถานี
สถานีโทรทัศน์การศีกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV
- สถานีโทรทัศน์การศีกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV มีทั้งหมด 15 ช่องรายการ
- รับชมที่ดาวเทียมไทยคม 5 ความถี่ 12272 H SR-30000
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สถานีโทรทัศน์เพื่อการศีกษา ETV
ในปี พ.ศ. 2536 มีการส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารแห่งชาติดวงแรกของประเทศไทยขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดเอเรี่ยน4ของบริษัทเอเรี่ยนสเปซประเทศฝรั่งเศสดาวเทียมดวงนี้ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯว่า"ไทยคม"โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการกระจายข่าวสารข้อมูลในด้านต่างๆรวมทั้งช่วยในการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลโดยการนำความรู้และกระบวนการจัดการเรียนการสอน ไปถึงตัวผู้เรียนโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างทั่วถึง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเป็นการขยายโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับ มาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้เป็นโครงการทดลองในระยะ 5 ปี (8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 7 มิถุนายน 2542) และเริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2537 ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธการได้มอบหมายให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนหรือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบันรับผิดชอบโครงการทดลองดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไทยคมในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. จัดหาช่องสัญญาณ 1 ช่อง สัญญาณโทรทัศน์ ในความถี่ย่าน Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม เพื่อการถ่ายทอดรายการ โทรทัศน์ และการให้ข่าวสารทาง เทเลเท็กซ์ (Teletext) เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาเป็นประจำทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมูลนิธิไทยคมเป็นผู้รับภาระ ค่าเช่าช่องสัญญาณตลอดช่วงโครงการทดลอง
2. จัดหาอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งจานรับสัญญาณ (Dish)ติดตั้งในสถานศึกษาและศูนย์การเรียนกระจาย ไปทั่วประเทศ
3. ให้ความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้การศึกษา 2 ทาง (Interactive and Two-way Communication) ในอนาคต
จากการออกอากาศโดยส่งสัญญาณในระบบบีบอัด สัญญาณ ขึ้นสู่ ดาวเทียม และ ส่งสัญญาณกลับ มายังจุดบริการโดยไม่ต้อง ผ่านสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดินนั้น ในการรับชมรายการ โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางสถานี ETV ผู้รับชมรายการ จึงต้องติดตั้งชุดอุปกรณ์รับสัญญาณในจุดที่ต้องการ รับชม ดังต่อไปนี้
จานรับสัญญาณดาวเทียม (Dish)สำหรับ ย่านความถี่ KU-Band ระบบ Dstv ขนาดกว้าง 60 – 80 เซนติเมตร ซึ่งประกอบด้วยตัวจานกรวยรับสัญญาณ (Feedhorn) และอุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีการรบกวนต่ำ (Low Noise Block Down Converter)
ชุดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม หรือ IRD (Integrated Receiver Decoder) พร้อม Smart Card และ CA – Module เพื่อแปลงสัญญาณในการรับชมรายการ เมื่อติดตั้งชุดอุปกรณ์ดังกล่าวเชื่อมโยงกับเครื่องรับโทรทัศน์แล้ว ผู้ชมสามารถปรับช่องสัญญาณเพื่อรับชมรายการของ ETV ได้ที่ ช่อง 96 โดย ไม่เสียค่าสมาชิก เนื่องจาก ETV เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดให้บริการโดยไม่คิด มูลค่าแก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปปัจจุบัน
สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
รายละเอียด
ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2538 สปน.ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น โดยกลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ ในระบบยูเอชเอฟ ออกอากาศทางช่อง 26 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟช่องแรกของประเทศไทย จากนั้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ก่อตั้ง บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินการสถานีฯ โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ ด้วย
ในระยะแรก สถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่ทำการอยู่บนชั้นที่ 16, 17 และ 21 ของตึกฝั่งตะวันออก อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถนนพหลโยธิน โดยมีระบบการบริหาร ที่เน้นภาพลักษณ์ของการนำเสนอข่าวสารและสาระเป็นหลัก โดยมี เทพชัย หย่อง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายข่าว พร้อมทั้งนำทีมงานจากเครือเนชั่น เข้าเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ในช่วงแรกของไอทีวี มีรายการข่าว และรายการสารคดีเชิงข่าว ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ข่าวภาคค่ำ, ไอทีวี ทอล์ค, สายตรงไอทีวี, ถอดรหัส, ย้อนรอย เป็นต้น ซึ่งทำให้ไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการนำเสนอข่าวสารในเวลาต่อมา รวมถึงการเป็นผู้นำในเชิงข่าวสืบสวนสอบสวนอีกด้วย
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และในราวปี พ.ศ. 2542 หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอดอาคารใบหยก 2 และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย
ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ไอทีวี จากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่แสดงความจำนงจะขายหุ้น หลังประสบปัญหาในการบริหารสถานีฯ ส่งผลให้พนักงานฝ่ายข่าวของสถานีฯ บางส่วนไม่เห็นด้วย และเมื่อ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าซื้อหุ้นเป็นผลสำเร็จ กลุ่มผู้บริหารและพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วน ที่นำโดย เทพชัย หย่อง ตัดสินใจลาออกจากสถานีฯ และหลังจากนั้น ไอทีวีก็เคลื่อนย้ายที่ทำการ จากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่บนอาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต
ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2546 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอร์น ออพปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 และมีผลให้นายไตรภพมีสถานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีด้วย ซึ่งถือเป็นการกลับสู่ไอทีวีอีกครั้ง หลังจากที่ในระยะเริ่มแรกของสถานีฯ นายไตรภพ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มสยามทีวี ในการประมูลสถานีโทรทัศน์เสรีมาแล้ว แต่ไม่นานนักก็ได้ถอนตัวออกไป
เมื่อเข้าบริหารไอทีวี นายไตรภพได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถานีฯ ใหม่ในหลายด้าน เช่น เปลี่ยนแปลงเวลานำเสนอข่าวภาคค่ำ จาก 19.00 น. มาเป็น 18.00 น., ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอรายการประเภทข่าวใหม่ และเปลี่ยนแปลงผังรายการในช่วงเวลา 15.00-24.00 น. โดยเพิ่มเติมรายการบันเทิง เช่น ร่วมมือร่วมใจ, ไอทีวี ฮอตนิวส์, บุปผาแฟนคลับ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป), ชวนชื่นคาเฟ่ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป) เป็นต้น พร้อมทั้งนำรายการทั้งหมดของ บจก.บอร์นฯ เช่น ทไวไลท์โชว์, เกมเศรษฐี, วอท อีส อิท? อะไรกันนี่ เป็นต้น ซึ่งเดิมออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 มาออกอากาศทางไอทีวีด้วย แต่ในเวลาต่อมา บจก.บอร์น และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ จึงส่งผลให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นผู้เช่าเวลาของสถานีฯ เท่านั้น พร้อมกันนั้น นายไตรภพก็ต้องสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ ลงเฉพาะตัว โดยมี นายทรงศักดิ์ เปรมสุข และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานีฯ แทน
ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานแก่สถานีฯ เป็นเงิน 230 ล้านบาท ตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ เป็นร้อยละ 50 เท่ากับรายการข่าวและสาระ รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดย สปน. ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองสูงสุดก็ พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับเพิ่มสัดส่วนให้รายการข่าวและสาระ เป็นร้อยละ 70 ต่อรายการบันเทิง ร้อยละ 30 ตามเดิม นอกจากนี้ บมจ.ไอทีวี ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี
จากนั้น สถานีฯ จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกอากาศโดยทันที ประกอบกับที่ผู้ผลิตรายการบางส่วน เริ่มถอนรายการออกจากสถานีฯ เป็นผลให้ความนิยม (เรตติ้ง) ของสถานีฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศให้ บมจ.ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท มาชำระกับ สปน.ภายใน 45 วัน และให้ชำระค่าปรับ กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท ทั้งนี้ สปน.กับ บมจ.ไอทีวี ได้เปิดการเจรจา ขอให้ต่อเวลาเรียกชำระออกไปอีก 30 วัน ไปสิ้นสุดในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2550 แต่อย่างไรก็ตาม บมจ.ไอทีวี ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานและคำเสียหายดังกล่าว ให้กับ สปน.ได้ ที่สุดแล้ว ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีจึง มีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี ระหว่าง สปน.กับ บมจ.ไอทีวี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 24:00 น.
สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ
ทีวีไทยได้พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายการส่งสัญญาณโทรทัศน์แพร่ภาพออก ไปทั่ว ประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกพื้นที่ ทั้งในตัวเมืองและชนบทที่ห่างไกล สามารถรับสัญญาณภาพ และเสียงได้อย่างชัดเจน ได้รับรู้ข่าวสาร สาระบันเทิง ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สทท ช่อง 11 NBT
ประวัติ
รายละเอียด
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สทท.; อังกฤษ: National Broadcasting Services of Thailand ชื่อย่อ: เอ็นบีที., NBT.) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสภาพเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล เดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (ชื่อย่อ: สทท.11, ช่อง 11; อังกฤษ: Television of Thailand Channel 11 ชื่อย่อ: TVT.11) ซึ่งมีสถานะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเช่นเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานี เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานี และในวันดังกล่าวคือวันครบรอบการใช้ชื่อ NBT 1 ปี
ประวัติ
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ
ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นการทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก แต่ระยะแรกนั้น สทท.11 ได้ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ออกอากาศด้วยระบบวีเฮชเอฟ(VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 11 มาจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ณ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มาออกอากาศเป็นการชั่วคราว ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แต่เนื่องจากความถี่ต่ำ จึงไม่สามารถดำเนินการส่งสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศต่อได้ ทว่าต่อมา สทท.11 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมูลนิธิไจก้า ตามโครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า โดยมีวงเงินประมาณ 330,000,000 บาท เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องส่งใหม่ โดยออกอากาศระบบวีเอชเอฟ(VHF)ความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11(BAND3,VHF CH-11) และสร้างอาคารที่ทำการสถานีฯ ในที่ดินของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการถ่ายทอดรายการส่วนใหญ่ และบางช่วงเวลา จะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในส่วนภูมิภาคดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงระยะเวลาแรกๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาลซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึง ดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น ละครโทรทัศน์ หรือรายการเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจมีโฆษณาได้ จึงทำให้ประเภทของรายการที่ออกอากาศทางสทท. 11 นั้น มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ชมนั้นมีไม่จำนวนไม่มากนัก
อย่างไรก็ดี ในปีพ.ศ. 2539 สทท.11 ได้เสนอให้หน่วยงานภาคต่างๆ สามารถแพร่ภาพโฆษณาให้กับทางสถานีได้ และในบางครั้ง สทท.11 ก็ได้ผลิตโฆษณาออกอากาศภายในสถานีเอง แม้จะเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จนกระทั่งในช่วงนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มมีชื่อเสียงทางด้านการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ซึ่งแต่เดิม สทท. 11 เป็นที่รู้จักกันดีจากการเริ่มนำเอากีฬามวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศทางสถานี แต่ทว่า นับตั้งแต่ที่สทท.11 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีและไอทีวี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ทศภาค จำกัด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ฮือฮามากในขณะนั้น ที่การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล ตามที่เป็นปกติในวงการโทรทัศน์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถ่ายทอดสดรายการกีฬาต่างๆ ร่วมกันทางทีวีพูล โดยมีโฆษณาคั่น แต่เมื่อสทท. 11 ได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี และไอทีวี โดยไม่มีโฆษณาคั่น แต่นั้น สทท. 11 ก็ได้ถ่ายทอดสดรายการกีฬาอีกหลายรายการจนเป็นที่ติดตามของผู้ชมกีฬาในประเทศ เป็นอย่างมากรายละเอียดของตราสัญลักษณ์เอ็นบีที (2551)
ในปีพ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เข้ามาบริหารงาน นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ได้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง สทท.11 เดิม เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ดังนั้น ในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (National Broadcasting Services of Thailand - NBT) ซึ่งเป็นการใช้ชื่อที่จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก(Asia-Pacific Broadcasting Union) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดงและ ได้ออกอากาศรายการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี และเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับการเสนอข่าวสารของเอ็นบีที จะมีความแตกต่างจาก สทท.11 คือ เอ็นบีที จะทำการเสนอข่าวในนามของทีมข่าวของสถานีเอง ซึ่งแยกออกจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวแห่งชาติ) แต่ในการเสนอข่าวในยุค สทท.11 นั้น จะดำเนินการเสนอข่าวขึ้นตรงกับสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้นำอดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีหลายคน ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น ตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์ , ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ เป็นต้น ซึ่งทางเอ็นบีทีได้นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นสถานีข่าว ผ่านทางการให้เวลานำเสนอข่าวมากกว่า 13 ชั่วโมง และปรับรูปลักษณ์ของสถานีเพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรก เอ็นบีทีถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย จากการที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย หรือไทยพีบีเอส ในลักษณะของ "สงครามสื่อโทรทัศน์ภาครัฐ" เนื่องจากเอ็นบีทีพยายามนำเสนอความเป็นทีวีสาธารณะของภาครัฐบาล ขึ้นรับมือกับไทยพีบีเอส ที่ประกาศตัวเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยไปก่อนหน้า และนอกจากนี้ เอ็นบีทียังถูกจับตามองอย่างยิ่ง ในแง่มุมของการเสนอข่าว ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอ็นบีทีนำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นพิเศษ
เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล จากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีนโยบายปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT โดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัย ผสมผสานกับความเป็นไทย และตราสัญลักษณ์ใหม่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปิดตัวสถานีในฐานะสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ และมีการเลิกสัญญาบริษัทผลิตข่าวซึ่งเดิมเป็นของ บริษัทดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ไปตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งมีข่าวว่าเป็นของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตนักการเมือง
ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 4106 H SR- 4688
- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ
ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ModernineTV
คณะผู้ก่อตั้งบริษัท มีอยู่ 7 คน ประกอบไปด้วย หลวงสารานุประพันธ์ , ขาบ กุญชร , ประสงค์ หงสนันทน์, เผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ เลื่อน พงษ์โสภณ ก่อนการจัดตั้งบริษัทฯนั้น ได้มีการระดมทุนจาก กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐแห่งอีก จำนวน 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท
คณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ หัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา หัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น หัวหน้าร่วม ฝ่ายเครื่องส่ง และ เสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย หัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิริยศิริ หัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และ หัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช หัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 โดยมีพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี เมื่ออาคารดังกล่าวสร้างเสร็จ และติดตั้งเครื่องส่งแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ในช่วงแรกมีการแพร่ภาพออกอากาศในวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงได้เพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท.ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ต่อมา ในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับบริษัท แปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ส่งผลให้คู่ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร นั่นเอง
ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วนายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานีถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหารเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เป็นสักขีพยาน
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง และปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทให้กับเครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นมา
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง7 BBTV Channel7
ประวัติ
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 หรือ "ช่อง 7 สี" เริ่มแพร่ภาพตาม มาตรฐาน CCIR 625 เส้น ระบบ PAL เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ด้วยการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยในงานวชิราวุธานุสรณ์จากบริเวณ วังสราญรมย์ ต่อมาในปี 2516 ช่อง 7 สี ได้เริ่มจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณใน ต่างจังหวัด และในปี พ.ศ. 2521 ได้ริเริ่มการออกอากาศ โดยถ่ายทอด สัญญาณผ่านดาวเทียมจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายใน ทุกภูมิภาคเป็นสถานีแรกของประเทศไทย ปัจจุบันมีสถานีเครือข่าย ถ่ายทอดสัญญาณ รวม 37 สถานี แพร่ภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและบริเวณชายแดนประเทศ เพื่อนบ้านนอกจากนี้ ช่อง 7 สี ยังใช้ดาวเทียมนานาชาติ (International Satellite) หรือเรียก ชื่อย่อว่า INTELSAT ถ่ายทอด เหตุการณ์จากทั่วทุกมุมโลกมายังประเทศไทย ขณะเดียวกันได้ริเริ่มนำรถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียมใช้ย่านความถี่สูง (Ku - Band)และรถถ่ายทอดนอกสถานที่ (Outside - Broadcasting Vans) หรือ OB ใช้ย่านความถี่ C - Band ทำหน้าที่เป็น สถานีแม่ข่ายชั่วคราวถ่ายทอดงานประเพณี กีฬา และเหตุการณ์สำคัญตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อทำหน้าที่องค์กร สื่อสารมวลชนที่สมบูรณ์แบบ ในการถ่ายทอดสาระ ความรู้ และความบันเทิง ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชม ได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
ปัจจุบันรายการข่าวทางช่อง 7 สี นำเสนอข่าวสารแบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ทั้งข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ รวมถึงข่าวเด็ด 7 สี และเด็ดข่าวดึก ด้วยทีมงานข่าวคุณภาพที่รายงานข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไว เที่ยงตรง นอกจากนี้รายการข่าวทางช่อง 7 สี ยังทำหน้าที่เสมือนกระจกเงาสะท้อนถึงปัญหา และสภาพชีวิตของประชาชนทั่วทุก ภูมิภาคผ่านช่วงข่าวสำคัญ อาทิ สกู๊ปชีวิต ข่าวช่วยชาวบ้าน และด้วยลำแข้ง รวมถึง สะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ ทั้งหมดนี้ล้วนมีเอกลักษณ์และได้รับความนิยมสูงตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา งานข่าวช่อง 7 สี ได้เก็บรวบรวมภาพที่มีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยระบบการจัดเก็บ ที่รัดกุม สะดวกแก่การเรียกใช้ ซึ่งในปัจจุบันศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์ของ ช่อง 7 สี เป็นแหล่งเดียวในประเทศที่เก็บรวบรวม แฟ้มภาพข่าวที่ได้รับความไว้วางใจจากสำนักข่าวระหว่างประเทศ และสถานีโทรทัศน์ชั้นนำทั่วโลกช่อง 7 สี ตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง อีกทั้งยังเห็นความ สำคัญของประชาชนในเขตชนบทและภูมิภาคห่างไกล จึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ครบครัน และเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อรายงานข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบอย่างพร้อมเพรียงกันขณะนี้ ช่อง 7 สี มีศูนย์ข่าวกระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ รวม 9 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และ ระยอง โดยใช้ศูนย์ข่าวภูมิภาค 4 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา เชียงใหม่ หาดใหญ่ และระยอง เป็นศูนย์ข่าวหลักในการรายงานข่าวและแพร่ภาพออกอากาศ
ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3764 H SR- 5900
- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- ดาวเทียม Vinasat 1(เวียดนาม) KU-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 11517 H SR- 4700
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ขยายรัศมีการส่งสัญญาณ ด้วยเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ “ทรานสเลเตอร์” ที่เขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เพื่อถ่ายทอด “การฝึกธระรัชต์” ให้ประชาชนได้เห็นการฝึกของทหารในยามปกติ และริเริ่มการจัดรายการภาคกลางวัน (พ.ศ. 2506)
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2508 เพื่อทอดพระเนตรกิจการของสถานีฯ และในปีนั้นได้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง F.M.94.0 เมกะเฮิรตซ์ ถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ.
เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ทีวี ชื่อเว็บไซต์ www.tv5.co.th (พ.ศ. 2538)
เป็นสถานีแรกที่ออกอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง (วันที่ 1 มกราคม 2540)
ใช้ระบบดิจิตอลในการผลิตและควบคุมการออกอากาศ (พ.ศ. 2539)
4. นำเฮลิคอปเตอร์ติดกล้องและรถถ่ายทอดข่างผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่ Digital Satellite News Gathering ( D-SNG) มาเป็นเครื่องมือเข้าถึงในการถ่ายทอดสด รายงานข่าว และสถานการณ์เร่งด่วนในทุกจุดของประเทศ ทำเสนอต่อผู้ชมได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (พ.ศ.2538)
ออกอากาศสัญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตอล สู่คนไทยทั่วโลกตามโครงการ Thai TV Global Network (TGN) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันสามารถรับชมได้ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก
การ ก่อสร้างอากคารที่ทำการและสถานีโทรทัศน์หลัก แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 ต้อนรับในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. 5 นับเป็นอาคารที่รวมส่วนบริหาร ส่วนปฎิบัติการ และส่วนสนับสนุน ไว้ในสถานที่เดียวกัน มีห้องส่งโทรทัศน์ที่ทันสมัยถึง 4 ห้อง
ร่วมกับโทรทัศน์รวม การเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)ในการถ่ายทอดพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549 และในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
เริ่มการก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมและอาคารจอดรถ มูลค่า 50 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 และจะเสร็จในปี พ.ศ.2551
- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ
สถานีโทรทัศน์ไทยทัวีสีช่อง3
สถานีโทรทัศน์ไทยทัวีสีช่อง3
ประวัติ
กลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ได้ รับการจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่ม"มาลีนนท์" ในระหว่างปี 2538 โดยการรวบรวมบริษัทของ"มาลีนนท์" ที่ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดำเนินการออกอากาศ(BROADCASTING) ,จัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์ (SOURCING AND PRODUCING TV PROGRAMS) และสื่อโฆษณาอีเล็ค ทรอนิคส์ (ELECTRONICS ADVERTISING MEDIA ) เข้าด้วยกัน ปัจจุบันกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน) ประกอบด้วยบริษัททั้งหมดรวม 15 บริษัท ได้แก่
1. บีอีซี เวิลด์
2. บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์จำกัด
3. รังสิโรตม์วนิช
4. นิวเวิลด์โปรดั๊กชั่น
5. บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (อริยะวัฒน์ )
6. ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น
7. ทรีมีเดีย
8. สำนักข่าวบีอีซี
9. บีอีซี สตูดิโอ
10. บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนลฯ
11. ทีวีบีเน็ตเวอร์ค
12. บางกอกเคเบิ้ลเทเลวิชั่น
13. บางกอกแซทเทิลไลท์
14. แซทเทิลไลท์ทีวีบรอดคาสฯ
15. แซทเทิลไลท์บรอดคาสติ้งฯ
โดยสามารถแยกออกเป็นกลุ่มตามลักษณะของธุรกิจที่ดำเนินกิจการได้ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจดำเนินกิจการออกอากาศ (BROADCASTING) ประกอบด้วย
1.1 ออกอากาศโทรทัศน์ (FREETV) ได้แก่ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งมีสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง3 จนถึงเดือนมีนาคม 2563 อีก24ปี) โดยเป็น เจ้าของเวลาออกอากาศทั้งหมดมีเจ้าหน้าที่จัดผังรายการออกอากาศให้เหมาะสมให้สามารถมีจำนวนผู้ชมสูงสุด1.2 ออกอากาศวิทยุ (RADIO BROADCASTING) ได้แก่ บริษัท ยูแอนด์ไอคอร์โปเรชั่นจำกัด ดำเนินการออกอา-กาศวิทยุคลื่นเอฟ.เอ็ม.3 สถานี โดยออกอากาศภาค ภาษาอังกฤษ 2 สถานีได้แก่คลื่น95.5 และ105.0 เมกกะเฮิตซ์ ซึ่งเช่าเวลามาจากกรมประชาสัมพันธ์สัญญาจะสิ้นสุด ปลายเดือนธันวาคม 2545 และการออกอากาศเพลงสากล โดยดี.เจ.คนไทยทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเอฟ.เอ็ม. 105.5 ร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง3 โดยมีสัญญาดำเนินการจนถึงเดือนมีนาคม 2563 ส่วนใหญ่เป็นรายการเพลง ที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของเพลงในแต่ละสถานีคลื่น 95.5 GOLDFMX เป็นเพลงสำหรับกลุ่มคนรุ่น สมัยใหม่ (YUPPIES),SMOOTHFM105 เป็นเพลงประเภทEASY LISTENING หรือ ADULT CONTEMPORARY และคลื่น EAZY FM 105.5 จะเป็นแนวเพลงเก่าที่ได้รับความนิยม และติดตลาดมากๆ บริษัทฯได้ร่วมกับสปอน เซอร์จัดกิจกรรมพิเศษมีงานปาร์ตี้กับกลุ่มสมาชิก "PRIVILEGECLUB" ในทุกๆเดือน1.3 ออกอากาศโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก (PAY TV) ได้แก่ บริษัท บางกอกเคเบิ้ลเทเลวิชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด ,บริษัท แซทเทิลไลท์บรอดคาสติ้งซิสเทม จำกัดและบริษัท แซทเทิลไลท์ทีวีบรอดคาสติ้งจำกัดซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นขอรอรับใบอนุญาตสัญญาจากหน่วยงานที่ให้อนุญาต 1.4 ออกอากาศรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (SATELLITE UPLINK-DOWNLINK)ได้แก่ บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด ซึ่งจะเข้าร่วมทุนในบริษัทร่วมทุนระหว่างองค์ การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท โทเทิ่ลแอคเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด, บริษัท เทเลคอมโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) , บริษัท หนังสือพิมพ์วัฏจักร จำกัด(มหาชน)และกลุ่มสหศีนีมาเพื่อดำเนิน การให้บริการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมโดยคาดว่าบริษัทจะมีส่วนในบริษัทร่วมทุนแห่งนี้เท่ากับร้อยละ 11.5
2. กลุ่มธุรกิจดำเนินการจัดหา และ ผลิตรายการโทรทัศน์ (SOURCING AND PRODUCING TV PROGRAMS) ประกอบด้วย
2.1 จัดหา และ ผลิตรายการบันเทิง และ สารคดีได้แก่ บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน), บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด , บริษัท นิวเวิลด์โปรดั๊กชั่น จำกัด , บริษัทบีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (เดิมคือ บ.อริยะวัฒน์ จำกัด) , บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนลดิสทริบิวชั่น จำกัด และ บริษัท ทีวีบี3เน็ตเวอร์ค จำกัดซึ่งทั้งหมดดำเนินการจัดหาและผลิตรายการบันเทิงและสารคดีเพื่อใช้ในการออกอากาศทางโทรทัศน์
2.2 ผลิตรายการข่าวได้แก่ บริษัท สำนักข่าวบีอีซี จำกัด ซึ่งจะเกิดจากการรวมเอาฝ่ายข่าวที่แยกออกมาจาก ไทยทีวีสีช่อง3 และ สถานี-วิทยุของ ยูแอนด์ไอ ขึ้นเป็นหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ผลิตข่าวเพื่อออกอากาศทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ตลอดจนถึงข่าวที่จะขายให้แก่สำนักข่าวอื่นอีกด้วย 2.3 ผลิตและบริการผลิตรายการได้แก่ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด ซึ่งจะเป็นเจ้าของสตูดิโอทำการผลิตรายการและให้บริการผลิตเช่นให้เช่าสตูดิโอหรือ อุปกรณ์สตูดิโอเพื่อการผลิตรายการ ตลอดจนถึงการให้บริการPOSTPRODUCTION อีกด้วย
3.กลุ่มธุรกิจดำเนินการสื่อโฆษณาอิเล็คทรอนิคส์ (ELECTRONICS ADVERTISING MEDIA)
ได้แก่ บริษัท ทรีมีเดีย จำกัด ซึ่งดำเนินการให้บริการสื่อโฆษณาอิเล็คทรอนิคส์ โดยการติดตั้งจอภาพประเภท PROJECTOR WALLหรือ MONITOR WALL หรือ TV WALL ตามศูนย์การค้าหลักหลายแห่งทั่วประเทศฯ และ ปริมณฑลนำเสนอโฆษณาณจุดขายเป็นการเตือน และชักชวนผู้บริโภคให้หันมาซื้อสินค้าหรือบริการที่โฆษณา นอกจากนี้ยังได้ให้เช้า ให้บริการ VDO WALL ในการจัดงานประชุม สัมมนา และจัดการแสดงต่างๆ ตลอดจน เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งนอกจากที่จะใช้เพื่อการโฆษณาดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้ห้างแสดงสิน ค้าร้านเทปซีดี และในศูนย์ควบคุมขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์โทรคมนาคม, ศูนย์ควบคุมการขนส่งมวลชน , ศูนย์ ควบคุมทางทหาร และ ศูนย์ควบคุมของโรงงานขนาดใหญ่ต่างๆ เป็นต้น
..... ปัจจุบัน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในกลุ่มของบริษัทที่มีมูลค่าตลาด ( MARKET CAPITAL) สูงสุด 15 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านหุ้น( รวมเป็นมูลค่าที่ ตราไว้ 2,000 ล้านบาท ) หุ้นของบริษัทได้เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาตั้งแต่ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 โดยใช้ชื่อย่อว่า" BEC "
ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3967 H SR- 4551
- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ