ประวัติ
ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชนต์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ลงนามในคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ 107 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2500 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก ประกอบด้วย พล.อ.ไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่วางโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก กับวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ และมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นปฎิบัติงาน เพื่อให้การบริหารงานได้ผลตามความมุ่งหมายของทางราชการต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2500 เป็นวันที่เริ่มวางศิลาฤกษ์อาคารสถานีโทรทัศน์ในบริเวณกองพลทหารม้า ถนนพหลโยธิน สนามเป้า พญาไท กรุงเทพมหานคร โดยกองทัพบกให้ยืมเงินในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท
ด้วยปฐมฤกษ์ ณ วันที่ 25 มกราคม 2501 สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศครั้งแรกจากอาคารสวนอัมพร ในระบบ F.C.C. (Federal Communication Committee) สัญญาณ 525 เส้น ภาพขาวดำ ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง7" กำลังออกอากาศของเครื่องส่ง 5 กิโลวัตต์ และเพิ่ม 12 เท่า ที่สายอากาศบนเสาสูง 300 ฟุตเป็นกำลังออกอากาศ 60 กิโลวัตต์ ชื่อสากลของสถานี "HSATV" และชื่อย่อว่า "ททบ." สถานีโทรทัศน์แห่งที่สองในประเทศไทยครั้งเมื่ออาคารสถานีฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกทุกวันพุธแล้วเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 3 วัน ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ รายการส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศและสารคดี โดยมีเหตุการณ์สำคัญ คือ
ขยายรัศมีการส่งสัญญาณ ด้วยเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ “ทรานสเลเตอร์” ที่เขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เพื่อถ่ายทอด “การฝึกธระรัชต์” ให้ประชาชนได้เห็นการฝึกของทหารในยามปกติ และริเริ่มการจัดรายการภาคกลางวัน (พ.ศ. 2506)
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2508 เพื่อทอดพระเนตรกิจการของสถานีฯ และในปีนั้นได้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง F.M.94.0 เมกะเฮิรตซ์ ถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ.
ขยายรัศมีการส่งสัญญาณ ด้วยเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ “ทรานสเลเตอร์” ที่เขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เพื่อถ่ายทอด “การฝึกธระรัชต์” ให้ประชาชนได้เห็นการฝึกของทหารในยามปกติ และริเริ่มการจัดรายการภาคกลางวัน (พ.ศ. 2506)
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2508 เพื่อทอดพระเนตรกิจการของสถานีฯ และในปีนั้นได้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง F.M.94.0 เมกะเฮิรตซ์ ถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ.
เกิดการก่อตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2511 เพื่ออำนวยการปฎิบัติงานของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องในประเทศไทย และเริ่มโครงการถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีส่งสนามเป้าไปยัง จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยระบบไมโครเวฟ แทนเครื่องสเลเตอร์ (พ.ศ. 2515)ในปีพ.ศ. 2517 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เป็น "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5" นอกจากนี้ยังปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องส่งโทรทัศน์จากระบบ 525 เส้น ขาวดำ ช่อง 7 เป็นระบบ 625 เส้น ช่อง 5 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2517 ในอีกเพียง 2 เดือนต่อมา ได้ถ่ายทอดพิธีสวนสนามหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ออกอากาศเป็นภาพสีใน ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2517
ททบ. 5 ใช้บริการดาวเทียมปาลาป้า (PALAPA) ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 พร้อมกับเริ่มก่อสร้างสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และมีการเปิดสถานีถ่ายทอดในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากจะขยายสถานีเครือข่ายให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นอีกในจังหวัดระนอง ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช น่าน ชุมพร พิษณุโลก ขอนแก่น ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงราย บุรีรัมย์ สกลนคร หนองคาย นราธิวาส ยะลาแล้ว ททบ.5 ได้เป็นผู้นำริเริ่มในวงการสื่อโทรทัศน์อีกหลายประการ ได้แก่
เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ทีวี ชื่อเว็บไซต์ www.tv5.co.th (พ.ศ. 2538)
เป็นสถานีแรกที่ออกอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง (วันที่ 1 มกราคม 2540)
ใช้ระบบดิจิตอลในการผลิตและควบคุมการออกอากาศ (พ.ศ. 2539)
4. นำเฮลิคอปเตอร์ติดกล้องและรถถ่ายทอดข่างผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่ Digital Satellite News Gathering ( D-SNG) มาเป็นเครื่องมือเข้าถึงในการถ่ายทอดสด รายงานข่าว และสถานการณ์เร่งด่วนในทุกจุดของประเทศ ทำเสนอต่อผู้ชมได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (พ.ศ.2538)
เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ทีวี ชื่อเว็บไซต์ www.tv5.co.th (พ.ศ. 2538)
เป็นสถานีแรกที่ออกอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง (วันที่ 1 มกราคม 2540)
ใช้ระบบดิจิตอลในการผลิตและควบคุมการออกอากาศ (พ.ศ. 2539)
4. นำเฮลิคอปเตอร์ติดกล้องและรถถ่ายทอดข่างผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่ Digital Satellite News Gathering ( D-SNG) มาเป็นเครื่องมือเข้าถึงในการถ่ายทอดสด รายงานข่าว และสถานการณ์เร่งด่วนในทุกจุดของประเทศ ทำเสนอต่อผู้ชมได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (พ.ศ.2538)
เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ททบ.5 เป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องปรับตัวให้ดำรงอยู่ แต่ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าว กลับเป็นโอกาสให้ ททบ.5 แสดงศักยภาพซึ่งปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
ออกอากาศสัญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตอล สู่คนไทยทั่วโลกตามโครงการ Thai TV Global Network (TGN) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันสามารถรับชมได้ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก
การ ก่อสร้างอากคารที่ทำการและสถานีโทรทัศน์หลัก แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 ต้อนรับในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. 5 นับเป็นอาคารที่รวมส่วนบริหาร ส่วนปฎิบัติการ และส่วนสนับสนุน ไว้ในสถานที่เดียวกัน มีห้องส่งโทรทัศน์ที่ทันสมัยถึง 4 ห้อง
ร่วมกับโทรทัศน์รวม การเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)ในการถ่ายทอดพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549 และในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
เริ่มการก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมและอาคารจอดรถ มูลค่า 50 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 และจะเสร็จในปี พ.ศ.2551
ออกอากาศสัญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตอล สู่คนไทยทั่วโลกตามโครงการ Thai TV Global Network (TGN) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันสามารถรับชมได้ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก
การ ก่อสร้างอากคารที่ทำการและสถานีโทรทัศน์หลัก แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 ต้อนรับในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. 5 นับเป็นอาคารที่รวมส่วนบริหาร ส่วนปฎิบัติการ และส่วนสนับสนุน ไว้ในสถานที่เดียวกัน มีห้องส่งโทรทัศน์ที่ทันสมัยถึง 4 ห้อง
ร่วมกับโทรทัศน์รวม การเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)ในการถ่ายทอดพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549 และในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
เริ่มการก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมและอาคารจอดรถ มูลค่า 50 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 และจะเสร็จในปี พ.ศ.2551
ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3905 H SR- 6250- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น