องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ModernineTV
ประวัติ
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (อังกฤษ: Modernine Television) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในนาม สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ถือกำเนิดขึ้นจากดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และบรรดาข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ใน ขณะนั้น ว่าต้องการที่จะให้ประเทศไทย มีการส่งโทรทัศน์ในประเทศขึ้น โดยมีกลุ่มข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ได้แสดงความคิดเห็นกับรัฐบาลเรื่องการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ไว้ว่า "ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมี TELEVISION" ผู้นำรัฐบาลจึงได้ให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้ง โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ ต่อที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2493 และต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและตั้งงบประมาณขึ้น ในปี พ.ศ. 2494 และในระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เหล่าข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์รวมไปถึงบุคคลในคณะรัฐมนตรีทั้ง 7 คน ได้จัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทย
คณะผู้ก่อตั้งบริษัท มีอยู่ 7 คน ประกอบไปด้วย หลวงสารานุประพันธ์ , ขาบ กุญชร , ประสงค์ หงสนันทน์, เผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ เลื่อน พงษ์โสภณ ก่อนการจัดตั้งบริษัทฯนั้น ได้มีการระดมทุนจาก กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐแห่งอีก จำนวน 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท
คณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ หัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา หัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น หัวหน้าร่วม ฝ่ายเครื่องส่ง และ เสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย หัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิริยศิริ หัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และ หัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช หัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 โดยมีพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี เมื่ออาคารดังกล่าวสร้างเสร็จ และติดตั้งเครื่องส่งแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ในช่วงแรกมีการแพร่ภาพออกอากาศในวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงได้เพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที
คณะผู้ก่อตั้งบริษัท มีอยู่ 7 คน ประกอบไปด้วย หลวงสารานุประพันธ์ , ขาบ กุญชร , ประสงค์ หงสนันทน์, เผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ เลื่อน พงษ์โสภณ ก่อนการจัดตั้งบริษัทฯนั้น ได้มีการระดมทุนจาก กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐแห่งอีก จำนวน 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท
คณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ หัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา หัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น หัวหน้าร่วม ฝ่ายเครื่องส่ง และ เสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย หัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิริยศิริ หัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และ หัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช หัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 โดยมีพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี เมื่ออาคารดังกล่าวสร้างเสร็จ และติดตั้งเครื่องส่งแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ในช่วงแรกมีการแพร่ภาพออกอากาศในวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงได้เพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที
ราวเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 ท.ท.ท. ได้หยุดทำการออกอากาศในระบบ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และประมาณปี พ.ศ. 2517 ปีเดียวกัน ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ เป็นภาพสี ในระบบ 625 เส้น ระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศจริงในราวปีพ.ศ. 2519 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ส่งผลทำให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท., M.C.O.T.) เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อสาธารณชน อ.ส.ม.ท.จึงรับโอนกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อังกฤษ: Thai Television Channel 9) มาดำเนินการต่อ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. โดยรัฐบาลมอบทุนประเดิม จำนวน 10 ล้านบาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท.ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ต่อมา ในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับบริษัท แปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ส่งผลให้คู่ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร นั่นเอง
ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วนายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานีถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหารเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท.ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ต่อมา ในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับบริษัท แปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ส่งผลให้คู่ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร นั่นเอง
ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วนายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานีถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหารเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ถือกำเนิดขึ้นจากดำริของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการรายงานเสนอข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิงทั้งหมด และเพื่อทันต่อเทคโนโลยี การสื่อสารของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพื่อเป็นการปราศจากความเป็นแดนสนธยาภายในองค์กรอีกด้วย
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เป็นสักขีพยาน
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง และปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทให้กับเครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นมา
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เป็นสักขีพยาน
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง และปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทให้กับเครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นมา
ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3888 H SR- 15625
- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น