วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานีโทรทัศน์ ธรรมะ มีเดีย แชนแนล DMC - Dhamma Media Channel

ดีเอ็มซี

ดีเอ็มซี (DMC - Dhamma Media Channel) เป็นสื่อเพื่อการศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียมของไทย ดำเนินการโดย มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม สถานีรายการธรรมะที่ส่งสัญญาณออกอากาศผ่านดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมงไปทั่วประเทศไทย และครอบคลุมอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก เนื้อหาของรายการจะมีลักษณะผสมผสานแบบวาไรตี้

รายการที่แสดงรวมถึงรายการธรรมะเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปแบบ บทเพลง สาระบันเทิง ปลูกฝังศีลธรรมให้แก่เยาวชน สร้างสรรค์ ความรู้และประสบการณ์ของการปฏิบัติธรรม

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทรท., ทีวีพูล (อังกฤษ: The Television Pool of Thailand - TPT. ; T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ไทยทีวีสีช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี, สทท. และ ทีวีไทย รวมทั้งสถานีเคเบิลที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

การก่อตั้ง

ภาพเข้ารายการพิเศษประกาศเตือนภัย จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทาง ทรท.เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทั้ง 4 ช่องในขณะนั้น ได้แก่ ช่อง 3, ช่อง 4 (ช่อง 9, โมเดิร์นไนน์ทีวี) , ททบ., และบีบีทีวี ได้ประชุมร่วมกัน และมีมติว่า แต่ละสถานีควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่างๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานี

จึงได้ก่อตั้งองค์กรชื่อ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขึ้น โดยมีคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เป็นกรรมการ และตามธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้น ประธานกรรมการ ทรท. ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (โดยตำแหน่ง)

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ทีไอทีวี, ไทยพีบีเอส, ทีวีไทย) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก

วัตถุประสงค์
1.ร่วมมือในการถ่ายทอด และรับการถ่ายทอด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รายการสำคัญระดับชาติ เช่น พระราชพิธี พิธีสำคัญทางศาสนา พิธีสำคัญทางทหาร กิจกรรมสำคัญของภาครัฐบาล หรืองานสำคัญระหว่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ อาจจะถ่ายทอดออกอากาศทุกสถานี หรือถ่ายทอดบางสถานีเท่านั้น แล้วแต่จะเห็นควร
2.เป็นผู้ประสานงาน ในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ จากการถ่ายทอดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมการถ่ายทอด (กีฬา) ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่มีคุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
3.เป็นสื่อกลางระหว่างสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
4.พิจารณาขจัดปัญหา และข้อขัดแย้งต่างๆ ของแต่ละสถานี โดยจะไม่ก้าวก่ายการบริหารภายในของแต่ละสถานี
5.ร่วมมือสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์ โดยพยายามยกระดับมาตรฐานให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น


...

สถานีประชาธิปไตย สถานีประชาชน People channel

สถานีประชาธิปไตย (อังกฤษ: Democracy Station) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในประเทศไทย


เริ่มทดลองออกอากาศ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 06.00 น.[1][2] และแพร่ภาพอย่างเป็นทางการ ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยจะมีสัดส่วนของรายการประกอบด้วย รายการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 50, รายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ 20, รายการสาระปกิณกะและบันเทิง ร้อยละ 10, รายการส่งเสริมการพัฒนาสังคม ร้อยละ 10 และรายการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 10[3]
รายการโทรทัศน์
สถานีฯ มีรายการที่เริ่มออกอากาศในระยะแรก ประกอบด้วย รายการสถานีประชาธิปไตย ดำเนินรายการโดย นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ และ นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ, ความจริงวันนี้ ดำเนินรายการโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, เพื่อนพ้องน้องพี่ และ มหาประชาชน ดำเนินรายการโดย นายวีระ นายจตุพร นายจักรภพ เพ็ญแข นายณัฐวุฒิ และ นายก่อแก้ว พิกุลทอง[4]

คุยกับอดิศร ดำเนินรายการโดย นายอดิศร นายสุพร อัตถาวงศ์ และ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น, ห้องเรียนประชาธิปไตย ดำเนินรายการโดย นายสุนัย จุลพงศธร นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ ร้อยโทหญิงสุณิสา เลิศภควัต, เสียงประชาชน ดำเนินรายการโดย นายชินวัฒน์ หาบุญพาด และ นายสมยศ, ทางออกประเทศไทย ดำเนินรายการโดย นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, แดงทั้งแผ่นดิน ดำเนินรายการโดย นายณัฐวุฒิ, กฎหมายต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นายนพดล ปัทมะ, สายตาโลก ดำเนินรายการโดย นายจักรภพ และ ทนายธนา อาสาคลายทุกข์ ดำเนินรายการโดย นายธนา เบญจาธิกุลและ นางสาวนิษณา วณีสอน[4]
การระงับสัญญาณออกอากาศ
เมื่อช่วงสายวันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552 กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้าไปภายในบริเวณโรงแรมรอยัล คลิฟฟ์ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ประชุมผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจา 3 และ 6 ประเทศ ทำให้การประชุมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จึงต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด ต่อมา เวลาประมาณ 14.00 น. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี โดยให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้รักษาการณ์ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงอาศัยอำนาจ โดยอ้างตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อขอความร่วมมือจาก บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ระงับสัญญาณออกอากาศของสถานีฯ ซึ่งส่งสัญญาณขึ้นสู่ดาวเทียมไทยคม อย่างเร่งด่วนโดยทันที โดยมอบหมายให้ นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงฯ เป็นผู้นำหนังสือสั่งการไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี โดยอ้างว่าเนื้อหาในการออกอากาศ ก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง[5]

ส่งผลให้กลุ่มคนเสื้อแดง เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้ประกาศให้ประชาชนที่สนับสนุนคนเสื้อแดง ออกมาร่วมชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล หากไม่สามารถเข้ามาในกรุงเทพมหานครได้ ขอให้ไปร่วมชุมนุม ที่ศาลากลางของทุกจังหวัด และหากมีการระงับสัญญาณสถานีประชาธิปไตยจริง มวลชนเสื้อแดงจะใช้มาตรการตอบโต้รัฐบาล ด้วยการชุมนุมปิดกั้นถนนทุกสายในประเทศไทย ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง[5]

เวลา 19.30 น. กลุ่มคนเสื้อแดงจากหน้าทำเนียบรัฐบาล ที่นำโดย นายสุพร อัตถาวงศ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นำรถปราศรัย เดินทางไปถึงหน้าสถานีดาวเทียมไทยคม เพื่อสกัดกั้นการระงับสัญญาณออกอากาศได้สำเร็จ[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 13.34 น. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลบางจังหวัด ซึ่งประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน เพื่อทำการตัดสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศของสถานีฯ และปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์สถานีฯ ด้วย

สถานีประชาชน
ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ผู้ประกาศข่าว พิธีกร และผู้ปฏิบัติงานชุดเดิม กลับมาดำเนินการทดลองออกอากาศผ่านดาวเทียมจากต่างประเทศ ในระบบซี-แบนด์ และผ่านเว็บไซต์ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า สถานีประชาชน (อังกฤษ: People Channel) ตั้งแต่วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และออกอากาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยใช้ผังรายการตามเดิม และในเดือนตุลาคม 2552 ได้เปลี่ยนโลโก้บนจอให้คล้ายกับยุคดีสเตชัน และใช้เป็นโลโก้สถานีอย่างเต็มตัวในเดือนธันวาคม 2552

เว็บไซต์ : www.peoplechannel.net , www.dstationtvonline.com , www.dstation.us

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการบริหาร และคณะอนุกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและ
วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สาระความรู้ และข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการทางด้านนิติบัญญัติ และกิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้าน
ต่างๆ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐสภากับประชาชน
4. ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาคณะกรรมาธิการ และการสัมมนาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ทั้งในและนอกสถานที่ทั่วประเทศ
5. วิเคราะห์และประเมินผลการรับฟังรับชม รายการวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและรายการโทรทัศน์ เพื่อนำมาปรับปรุงรายการให้มี
ประสิทธิภาพ
6. ศึกษา วิเคราะห์หรือจัดให้มีการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบของรายการวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และรายการโทรทัศน์ และรายงานผล
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล กิจกรรมต่างๆ
7. เป็นศูนย์ข่าวรัฐสภาและศูนย์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลในการเผยแพร่ข่าวสารของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้
แทนราษฎร และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประชาชน
8. จัดเตรียมข้อมูล และผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการโทรทัศน์ ทั้งรายการสดการถ่ายทอดเสียงนอกสถานที่ และบันทึกเทป
9. จัดทำรูปแบบรายการ จัดทำผังรายการ สคริปต์รายการ สปอตและประสานงานตรวจสอบความพร้อมในการผลิตรายการ
10. ตรวจสอบรายการและดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการโทรทัศน์ และประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
11. พัฒนาสถานีและเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
12. จัดหาข่าว ประกาศข่าวและประกาศรายการ
13. ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงทางเทคนิค อุปกรณ์เครื่องส่งกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ห้องส่งกระจายเสียงและห้องบันทึก
รายการโทรทัศน์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
14. กำกับ ควบคุมและดูแลห้องส่งกระจายเสียง ห้องบันทึกรายการ และควบคุมเวลาการออกอากาศ
15. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย สื่อนิติบัญญัติ ที่มุ่งมั่นเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการเมือง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองของประชาชน เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย "

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานบริหารทั่วไป

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ ครุภัณฑ์ การเงิน และงบประมาณของสำนัก
3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและข้อมูลด้านบุคคลของสำนัก
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และงบประมาณ รวมถึงการประสานงาน ด้านแผน รายงานผลการปฏิบัติงาน การใช้จ่ายงบ
ประมาณและสถิติของสำนัก
5. ดำเนินงานเลขานุการและงานประชุมของสำนัก
6. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและเผยแพร่เอกสารและผลงานของสำนัก
7. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานข่าวและประเมินผล

1. จัดทำและจัดหาข่าวเพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสถานีวิทยุโทรทัศน์
2. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการเสนอข่าว และการรายงานข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และทางสถานีวิทยุ
โทรทัศน์ และรายงานผลวิเคราะห์ ข้อมูล และประเมินผลกิจกรรมต่างๆ
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการรายงาน และการประกาศข่าวสารเกี่ยวกับวงงาน รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน
ราษฎร และข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐสภา กับประชาชน
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวม ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ที่เผยแพร่ออกอากาศ
5. วิเคราะห์และประเมินผลการรับฟังรับชมรายการวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และรายการโทรทัศน์ เพื่อนำมาปรับปรุงรายการให้มี
ประสิทธิภาพ
6. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สาระความรู้ และข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการทางด้าน นิติบัญญัติ และกิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้าน
ต่างๆ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย และแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง รัฐสภากับประชาชน
4. ดำเนินการถ่ายทอดเสียงการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ทั่วประเทศ
5. ศึกษา วิเคราะห์และจัดให้มีการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบของรายการวิทยุ กระจายเสียงรัฐสภา
6. เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิทยุกระจายเสียง ให้กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้
แทนราษฎร และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประชาชน
7. จัดเตรียมข้อมูล และผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงทั้งรายการสด การถ่าย ทอดเสียงนอกสถานที่และบันทึกเทป
8. จัดทำรูปแบบรายการ จัดทำผังรายการ สคริปต์รายการ สปอตและประสานงาน ตรวจสอบความพร้อมในการผลิตรายการ
9. ตรวจสอบรายการและดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียงและประสานงานกับ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
10. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานผลิตรายการโทรทัศน์

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ รัฐสภาและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สาระความรู้และข่าวสาร เกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการทางด้านนิติบัญญัติ และกิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้าน
ต่าง ๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย และแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง รัฐสภากับประชาชน
4. ดำเนินการเพื่อให้มีการถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการสัมมนา ทั้งในและนอกสถานที่ทั่วประเทศ
5. ศึกษา วิเคราะห์หรือจัดให้มีการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบของรายการโทรทัศน์
6. เป็นสื่อกลางในการรับส่งเรื่อง และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประชาชน
7. จัดเตรียมข้อมูลและผลิตรายการโทรทัศน์ ทั้งรายการสดและบันทึกเทป
8. จัดทำรูปแบบรายการ จัดทำผังรายการ สคริปต์รายการ สปอตและประสานงาน ตรวจสอบความพร้อมในการผลิตรายการ
9. ตรวจสอบรายการ และดำเนินรายการโทรทัศน์และประสานงานกับหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง
10. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

------------------------------------------------------------------------

กลุ่มงานเทคนิค

1. ดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงทางเทคนิค อุปกรณ์เครื่องส่งกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ห้องส่งกระจายเสียงและห้องบันทึก
รายการโทรทัศน์ ทั้งในส่วน กลางและส่วนภูมิภาค
2. กำกับ ควบคุมและดูแลห้องส่งกระจายเสียง และห้องบันทึกรายการโทรทัศน์ และควบคุมเวลาการออกอากาศ
3. กำกับ ดูแลและควบคุมการเปิดปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
4. ให้บริการบันทึกเสียง บันทึกภาพและบันทึกเทปรายการ
5. ประสานและอำนวยความสะดวกการดำเนินรายการ และการออกอากาศ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และการผลิตรายการ
โทรทัศน์ ทั้งรายการสด และบันทึกเทป
6. พัฒนาสถานีและเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
7. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

ที่มา http://www.radioparliament.net

เนชั่น แชนแนล

เนชั่น แชนแนล

เนชั่น แชนแนล (อังกฤษ: Nation Channel) เป็น สถานีโทรทัศน์ข่าว 24 ชั่วโมง แห่งแรก ของประเทศไทย ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ทาง สถานีโทรทัศน์ยูบีซี ช่อง 8 โดยมีทีมข่าว 400 คน และกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในเครือเนชั่น โดยมี นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ เป็นบรรณาธิการเนชั่นทีวี บริหารงานโดย บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในเครือเนชั่นกรุ๊ป

ต่อมา ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เนชั่น แชนแนล ได้ย้ายการออกอากาศ จาก ยูบีซี 8 มาสู่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ผ่านทางระบบ MMDS ครอบคลุมรัศมีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยให้เหตุผลว่า มีอำนาจรัฐเข้าแทรกแซง นอกจากนี้ บริษัท เอ็มดีเอส ของ ออสเตรเลีย ได้ลงนามในสัญญาซื้อรายการจากเนชั่นทีวี เพื่อนำไปออกอากาศผ่านดาวเทียม และ ผลิตช่องรายการใหม่ ให้กับ สถานีโทรทัศน์ WETV จังหวัดเชียงใหม่ ทางช่อง 9 ภายใต้ชื่อ Nation Channel Chiangmai

ปัจจุบัน Nation Channel ได้ทำการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ABS-1 ในระบบ C-Band และ NSS-6 ในระบบ Ku-Band ให้ผู้ที่มีจานรับสัญญาณดาวเทียมที่อยู่ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย สามารถรับชมได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนใดๆ ทั้งสิ้น

รายการต่างๆ ของทางสถานี ที่ได้รับความนิยม อาทิ รายการ เก็บตกจากเนชั่น ที่ดำเนินรายการโดย กนก รัตน์วงศ์สกุล และ ธีระ ธัญไพบูลย์ รายการ ชีพจรโลก โดย สุทธิชัย หยุ่น รายการ คม-ชัด-ลึก ที่เคยสร้างชื่อให้กับ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ก่อนที่จะลาออกจากเครือเนชั่น หลังจากย้ายการออกอากาศ ไปยัง ไททีวี เพียงไม่ถึง 1 สัปดาห์

นอกจากนี้ ทางเนชั่นทีวี ยังมีการผลิตรายการให้กับสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีช่องต่างๆ อาทิ โมเดิร์นไนน์ทีวี (รายการ ชีพจรโลกวันนี้ ชีพจรโลกกับสุทธิชัย หยุ่น (ทุกวันจันทร์) ข่าวข้นคนข่าว จุดชนวนความคิด (ทุกวันอังคาร) ช่อง 5 (สยามเช้านี้) (รายการในอดีต; ถูกผิดคิดเอง ททบ.5,E-Life E-Business เขียวยกแผง และ ก๊วนเศรษฐกิจ โมเดิร์นไนน์ทีวี) และออกอากาศซ้ำ ทาง เนชั่นทีวี ด้วย

เนชั่น แชนแนล ถือว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการนำเสนอข่าวแบบนิวส์บาร์(News Bar) แต่เป็นการเสนอข่าวแบบพาดหัวข่าวเดี่ยว ทีละหัวข้อ โดยได้ใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ประมาณปลายปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2544
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี


เอ็มวีทีวี (MVTV)ได้รับลิขสิทธ์จากเอ็มวีทีวีประเทศลาวปัจจุบันมีมีผู้ชมในระบบ C-Band ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้บริการกว่า 800,000 ใบ และกลุ่มผู้ที่รับสัญญาณดาวเทียมระบบ C-BAND ผ่านดาวเทียม Thaicom 2/5 ที่อยู่ภายนอกประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียกว่า 20 ประเทศ และผู้ชมในระบบเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนเคเบิลโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการกว่า 450 ราย และจำนวนผู้รับชมประกว่า 2,855,300 หลังคาเรือน
วิธีรับชม เอ็มวีทีวี
สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี เป็นสถานีที่ส่งสัญญาณด้วยระบบดาวเทียม ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และอีกกว่า 22 ประเทศทั่วโลก ด้วยการส่งสัญญาณในรูปแบบดังกล่าวจึงสามารถรับชม ได้ 3 ช่องทาง คือ

1.รับสัญญาณจากดาวเทียมโดยตรงในระบบ C-BAND ผ่านดาวเทียมThaicom 2/5 โดยใช้คลื่นความถี่

Transponder : 5E Thaicom 5

Frequency :3585 MHz FEC : 3/4

Symbol rate:26.667 Msym/s

Polarize : Vertical

2.ผ่านเคเบิลทีวี

3.ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ช่องในปัจจุบัน
1.MVTV 1 - MIX Channel - ช่องภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ 24 ชั่วโมง (ชื่อเดิมเป็นช่องช่องเป็น mic)
2.MVTV 2 - Variety Channel - ช่องภาพยนตร์ชุดจีน และวาไรตี้
3.MVTV 3 - Hit Station - ช่องเพลงลูกทุ่ง 24 ชั่วโมง
4.MVTV 4 - H+Channel - ช่องสุขภาพ 24 ชั่วโมง
5.MVTV 5 - MV5 - ทีวีเพื่อประชาชน 24 ชั่วโมง
6.MVTV 6 - MV News - ช่องข่าวจาก MVTV 24 ชั่วโมง
7.MVTV 7 - Star Channel
8.MVTV 8 - MyTV - เอนเตอร์เทนเมนท์ วาไรตี้ คุณภาพตลอด 24 ชั่วโมง
9.MVTV 9 - You Channel - ช่องเพลงป๊อปและเพลงยุคเก่า 24 ชั่วโมง
10.MVTV 10- สบายดีทีวี - ช่องเพลงไทยในครอบครัว 24 ชั่วโมง
11.MVTV 11- New Channel
ช่องในอดีต
1.ที แชลแนล - ลูกทุ่งทีวี 24 ชั่วโมง ออกอากาศทางช่อง MVTV3 (ปัจจุบัน ออกอากาศทางทรู วิชั่นส์ช่อง 57)
2.ไททีวี 3 - ช่องรายการภาพยนตร์ชุดจีนและสาระบันเทิง 24 ชั่วโมง ออกอากาศทางช่อง MVTV 2 (ได้หมดสัญญากับไททีวีไปเมื่อเดือน มี.ค. 2550)
3."Sat TV"

สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี


สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอส ]



สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี (ภาษาอังกฤษ: ASTV หรือ Asia Satellite TV) เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่มีบริษัท เอเชียไทม์ออนไลน์ จำกัด เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เป็นเจ้าของ ซึ่ง บริษัท ไทยเดย์ ดอตคอม จำกัด (ปัจจุบันคือ เอเอสทีวี(ประเทศไทย)) ประเทศไทย เป็นผู้รับจ้างผลิตเนื้อหาให้กับสถานี โดยการส่งสัญญาณภาพผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังสถานีส่งสัญญานภาพขึ้นดาวเทียมที่ฮ่องกง แล้วส่งไปยังดาวเทียม NSS-6 ของ NewSkies Satellite ของ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และยิงสัญญาณภาพลงมา โดยใช้ South East Asia Beam ครอบคลุม บางส่วนของพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ บางส่วนของจีนตอนใต้ อินโดนีเซีย และบรูไน โดยสามารถรับชมได้ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียมย่าน Ku-Band ที่ความถี่ 11676 Polarization:Horizontal Symbol Rate:27500 Local Freq.:9750,10600 ทางอินเทอร์เน็ตที่ เว็บของ เอเอสทีวี หรือทางเคเบิลท้องถิ่น

สำหรับผู้ชมใน สหรัฐอเมริกา และใน ประเทศแคนาดา สามารถรับชมช่อง ASTV NEWS1 ได้ที่ดาวเทียม Intelsat Americas5 ย่านKu-Band ที่ความถี่ 12152 Polarization:Horizontal Symbol Rate:20000






ประวัติ
เอเอสทีวี เริ่มต้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 [ต้องการอ้างอิง] เมื่อบริษัท บีทีวี อาร์เอ็นที ของ พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย ได้รับสิทธิ์จากกรมประชาสัมพันธ์ ให้ขยายช่องสถานีของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เป็นช่อง 11/1 ทำรายการข่าวโทรทัศน์โดยมีรายได้จากค่าโฆษณา ถ่ายทอดผ่านดาวเทียม และเคเบิลทีวียูบีซี เป็นการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายทำรายการโทรทัศน์ช่องใหม่ โดยใช้ใบอนุญาตเดิม และหลีกเลี่ยงข้อกำหนดเดิมที่ช่อง 11 ไม่สามารถมีโฆษณาได้

พ.ต.อ.รวมนคร และผู้บริหารช่อง 11 ได้เข้ามาชักชวนนายสนธิ ลิ้มทองกุล ให้รับจ้างผลิตรายการให้ช่อง 11/1 โดยใช้ชื่อว่า 11 News1 เป็นโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และถ่ายทอดทางยูบีซี ช่อง 8 แต่ต่อมาสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 News1 ได้ถูกถอดออกจากยูบีซี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากปัญหาภายในของยูบีซี ที่ถูกร้องเรียน และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโฆษณาแฝง

เมื่อไม่สามารถถ่ายทอดสัญญาณผ่านสัญญาณของยูบีซีได้ และเหลือเพียงแต่การถ่ายทอดผ่านทางดาวเทียม นายสนธิ ลิ้มทองกุล จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปที่คนไทยในต่างประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา และเปลี่ยนชื่อเป็น Asia Satellite TV หรือ ASTV โดยมีช่องหลักที่เป็นจุดขาย คือช่อง NEWS1 ซึ่งมาจากช่อง 11 News1 เดิมนั่นเอง ทั้งนี้ การนำเสนอข่าวของช่อง NEWS1 ทาง ASTV มักจะเน้นน้ำหนักการเสนอข่าวไปที่ข่าวการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเป็นเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมือง

และเมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุลเริ่มประกาศตนว่าไม่เห็นด้วยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้ในช่วงของการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอเอสทีวีถูกตัดสัญญาณดาวเทียมของไทยคม[ต้องการอ้างอิง] จึงต้องเปลี่ยนวิธีการออกอากาศโดยส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไปที่ฮ่องกง และใช้สัญญาณดาวเทียมของเนเธอร์แลนด์ ถ่ายทอดกลับมาที่ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และอนุญาตให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นในประเทศไทย นำสัญญาณไปถ่ายทอดต่อ และให้ควายทั่วไปสามารถรับชมผ่านทางเว็บไซต์ได้

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 มีความพยายามจากกรมประชาสัมพันธ์ ที่จะปิดรายการของเอเอสทีวี ด้วยข้อหาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายควบคุมวิทยุโทรทัศน์ มีการฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองได้มีคำสั่งศาลให้ความคุ้มครอง โดยให้เหตุผลว่า เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะจากสื่อมวลชน และศาลปกครองต่อมา ได้มีคำพิพากษาให้เอเอสทีวีชนะคดี

ในปี พ.ศ. 2551สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีได้ทำการถ่ายทอดสดการการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผ่านทางช่องนิวส์วัน รวมไปถึงช่องที่สังกัดเอเอสทีวี ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวม193วัน

ปลายปีพ.ศ. 2551 หลังการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเอเอสทีวีได้เปลี่ยนสโลแกนใหม่คือ เอเอสทีวีทีวีของประชาชน

สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ได้รับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระหน้าที่ พนักงาน คลื่นความถี่ ลิขสิทธิ์จาก สทท. และสถานีโทรทัศน์ช่องนิวส์วัน ของ พล.ต.อ.รวมนคร มาเป็นของเอเอสทีวี ช่องนิวส์วัน อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

[แก้] ช่องต่างๆของ ASTV
เดิม ASTV มีช่องโทรทัศน์ 8 ช่อง และมีแผนขยายอีก 4 ช่องในปี พ.ศ. 2549 โดยมีช่องโทรทัศน์ดังนี้

NEWS1 สถานีข่าว 24 ชั่วโมง แห่งที่สองของเมืองไทย (เดิมคือ 11 NEWS1)
Thailand Outlook Channel (TOC) สถานีข่าวภาคภาษาอังกฤษ
E-San Discovery สถานีโทรทัศน์วัฒนธรรมอีสาน
Metro Life Channel สถานีโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตประจำวันในสังคมเมือง
ME TV (Music and Entertainment) สถานีโทรทัศน์ที่เน้นเรื่องเพลง มิวสิกวิดีโอ หนังสั้น
Body & Mind Channel สุขภาพกาย สุขภาพจิต
Manager Bizz สถานีที่นำเสนอเรื่องราวธุรกิจ
Thai Muslim Network สถานีโทรทัศน์ที่เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับมุสลิม และอิสลาม
ASTV Radio วิทยุผ่านดาวเทียม
ปัจจุบัน ASTV ปิดให้บริการช่องต่างๆที่กล่าวไปในขึ้นต้น และได้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยมีช่องดังต่อไปนี้

1.NEWS1 สถานีข่าว 24 ชั่วโมง
2.TAN-NETWORK ( THAILAND-ASEAN NEWS NETWORK ) สถานีข่าวภาคภาษาอังกฤษ
3.Super บันเทิง
4.esan TV สถานีโทรทัศน์วัฒนธรรมอีสาน
5.FE.TV สถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดิน (กองทัพธรรมเป็นผู้ผลิตรายการ)
6.ช่องเถ้าแก่
ทั้งนี้เนื่องจากประสบปัญหาสภาพคล่อง ตามธุรกิจอื่นๆในเครือผู้จัดการ ซึ่งแบกรับภาระหนี้ไว้กว่า 6000 ล้านบาท และมียอดขาดทุนสะสมติดต่อมาเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันเอเอสทีวีกำลังระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยการขายหุ้น ASTV ในราคาหุ้นละ 1,000 บาท ซึ่งได้จำหน่ายไปแล้วหลายหมื่นหุ้น

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ้ายคำทีวี


ประวัติ


มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนและเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคนทุกแห่งหนทุกระดับชั้นและทุกเวลาเพื่อให้เข้าถึงผู้ที่สนใจศึกษาและต้องการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก ด้วยอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์มหาวิทยาลัยจึงจัดช่องสัญญาณในย่านความถี่_C-Band เพื่อถ่ายทอดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย ผ่านดาวเทียมทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งมีช่องสัญญาณ คือ RU TV1 และ RU TV2


ช่องทางการรับชม


คลื่นความถี่ RU TV1

Transponder : Thaicom 2/5Frequency : 04003 MHzSymbol rate : 01085 Msym/sPolarize : HOR

คลื่นความถี่ RU TV2 Transponder : Thaicom 2/5Frequency : 04019 MHzSymbol rate : 01085 Msym/sPolarize : HOR

มงคลแชนแนล

มงคลแชนแนล

ประวัติ

บริษัท สหมงคลฟิลม์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดบริษัทธุรกิจภาพยนตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำสื่อบันเทิงไทย ในปี พ.ศ.2551 โดยก่อตั้ง บริษัท ไทย มงคล มัลติมีเดีย จำกัด ขึ้นมาเพื่อผลิตรายการเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ภายใต้ชื่อ มงคล แชนแนล (Mongkol Channel) ซึ่งเป็นสถานีความบันเทิง ที่จะเติมเต็มความสุขให้กับผู้ชมโทรทัศน์ทุกคนกับความบันเทิงครบรส
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม มงคล แชนแนล (Mongkol Channel) เป็นสถานีโทรทัศน์ความบันเทิง 24 ชั่วโมง ที่เติมเต็มไปด้วยความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพยนตร์ไทย และภาพยนตร์จากทั่วทุกมุมโลก ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องของบริษัท สหมงคลฟิลม์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด พร้อมทั้งยังนำเสนอด้วยเรื่องราว สาระความบันเทิง ข้อมูลข่าวสารในวงการภาพยนตร์ทั้งเบื้องลึก เบื้องหลัง ทั้งไทยและเทศ ตลอดจนรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ ออกอากาศแบบ Free TV ตลอดทั้งวันเพื่อให้ผู้ชมรายการทุกท่านเข้าถึง และเพลิดเพลิน เต็มอิ่มกับสาระบันเทิงและภาพยนตร์ที่มีคุณภาพภายใต้สโลแกน " ความสุขของทุกคน มงคล แชนแนล”
สถานีโทรทัศน์มงคล แชนแนล (Mongkol Channel) แพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง


ช่องทางการรับชม
สามารถรับชมได้ 3 ระบบ
1. รับชมด้วยการติดตั้งจานรับดาวเทียม C-Band (ขนาด 1.5 เมตรขึ้นไป) โดยหันจานรับไปยังดาวเทียม Thaicom 5 และทำการปรับจูนสัญญาณดังนี้
Transponder : 4E
Frequency : 3545 MHz
FEC : 5/6
Symbol Rate : 30000 Msyn/s
Polarize : Vertical
2. รับชมด้วยการสมัครเป็นสมาชิกจากสถานีโทรทัศน์ทางสาย(เคเบิลทีวีท้องถิ่น) ลำดับช่องเลขที่ 19 ทั่วประเทศกว่า500 สถานี

สถานีโทรทัศน์การศีกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV

สถานีโทรทัศน์การศีกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV 1-15


1. ความเป็นมา

1.1 กรมสามัญศึกษาประสบปัญหาการขาดแคลนครูที่สอนระดับมัธยมศึกษาตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน มีนักเรียน 1,000 คน ต่อครู 20 คน ขณะที่ครูมัธยมในอำเภอต่างๆ มี 70-100 คน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาโท) ต่อนักเรียน 1,000 คน ในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดมีครู 185-200 กว่าคน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาเอก) ต่อนักเรียน 3,800 คน ถึง 4,000 คน กรมสามัญศึกษาพยายามแก้ไขสถานการณ์ตลอดมา นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ผู้จัดการโรงเรียนวังไกลกังวลตั้งแต่ปี 2522 และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งให้การสนับสนุนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จำนวน 35 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้หารือประสานงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในการถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ช่วยพัฒนามาตามลำดับจนเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเมื่อปี 2539 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่โรงเรียนวังไกลกังวลโดยทรงแนะนำให้สอนวิชาชีพ เป็นต้นกำเนิดของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

1.2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประกอบพิธีเปิดการเรียนการสอนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เป็นกรรมการบริหาร และมีการเลือกตั้งประธานกรรมการบริหารได้แก่นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ

1.3 เพื่อแก้ไขการขาดแคลนครูในชนบทข้างต้น มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมดำเนินงานมาแล้วเป็นปีที่ 6 สามารถถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษา ขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดทั่วประเทศประมาณ 2,700 โรงเรียน โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนอื่นๆ ประมาณ 300 แห่ง รวม 3,000 โรงเรียน มีนักเรียนที่ได้รับพระราชทานการศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวล ประมาณ 2 ล้านคน สมาชิก UBC อีก 350,000 คน และประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม นอกจากการถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้ว สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล ยังทำการถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชน หลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (ระยะสั้นและปกติ จนถึง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล และรายการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเรื่องเกี่ยวกับรายการต่างๆ และการดำเนินการของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานคำแนะนำ และพระราชทานรายการชื่อ “ศึกษาทัศน์” ออกอากาศทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล ยังเป็นที่ฝึกงานของนักศึกษาปีสุดท้าย และนักศึกษาฝึกหัดจากสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันราชภัฏต่างๆ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาลัยนานาชาติ ชิลเลอร์ สแตมฟอร์ด หัวหิน


2. ประวัติ


มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และได้ร่วมกับกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 3,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ทางช่อง 11-16 (UBC) โดยกองทัพบก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นการพระราชทานการศึกษาไปสู่ปวงชน และกำลังดำเนินการขยายไปสู่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติตามลำดับ รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษทางช่อง 17 (UBC) สำหรับบุคคลที่สนใจ ประเทศเพื่อนบ้าน และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานเอกอัครราชทูต ซึ่งจะเริ่มออกอากาศในต้นปี พ.ศ.2545เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เนตควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของมูลนิธิฯ จะเป็นประโยชน์ต่อ การขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่จะมีโอกาสได้เรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป นักศึกษาผู้ใช้อินเตอร์เนต (internet) ในประเทศ และมิตรประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เป็นการประหยัดในการค้นคว้าข้อมูลจากรายการการศึกษาทางไกลของมูลนิธิฯ ประหยัดเวลาในการบันทึกเทป ประหยัดเทปและงบประมาณ ยิ่งไปกว่านั้น สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาเห็นว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล มีความพร้อมและเหมาะสมกว่าที่อื่นในการเกื้อกูลระบบ e-Learning ให้ประสบผลสำเร็จได้ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) บริษัท แอ๊ดว้านซ์วิชั่นซิสเท็มส์ จำกัด บริษัทเทเลแซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมกันเฉลิมพระเกียรติ จัดทำระบบ e-Learning ให้แก่มูลนิธิฯ ในต้นปี พ.ศ.2545 นี้ เท่ากับว่า ผู้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนจากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยศึกษาผ่านอินเตอร์เนตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเรื่องเนื้อหาวิชา (free-of-charge web-based information content) ทั้งในลักษณะ Live Broadcast และ On Demand


3. ช่องทางการรับชม

- สถานีโทรทัศน์การศีกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV มีทั้งหมด 15 ช่องรายการ

- รับชมที่ดาวเทียมไทยคม 5 ความถี่ 12272 H SR-30000

- www.dlf.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สถานีโทรทัศน์เพื่อการศีกษา ETV

สถานีโทรทัศน์เพื่อการศีกษา กระทรวงศึกษาธิการ

รายละเอียด

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ Educational TV Station

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0-26449306, 0-23545730-40 ต่อ 414,415 โทรสาร 0-23545741 E-mail = Webmaster@etvthai.tv


ประวัติ


ในปี พ.ศ. 2536 มีการส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารแห่งชาติดวงแรกของประเทศไทยขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดเอเรี่ยน4ของบริษัทเอเรี่ยนสเปซประเทศฝรั่งเศสดาวเทียมดวงนี้ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯว่า"ไทยคม"โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการกระจายข่าวสารข้อมูลในด้านต่างๆรวมทั้งช่วยในการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลโดยการนำความรู้และกระบวนการจัดการเรียนการสอน ไปถึงตัวผู้เรียนโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างทั่วถึง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเป็นการขยายโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับ มาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้เป็นโครงการทดลองในระยะ 5 ปี (8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 7 มิถุนายน 2542) และเริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2537 ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธการได้มอบหมายให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนหรือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบันรับผิดชอบโครงการทดลองดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไทยคมในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้


1. จัดหาช่องสัญญาณ 1 ช่อง สัญญาณโทรทัศน์ ในความถี่ย่าน Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม เพื่อการถ่ายทอดรายการ โทรทัศน์ และการให้ข่าวสารทาง เทเลเท็กซ์ (Teletext) เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาเป็นประจำทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมูลนิธิไทยคมเป็นผู้รับภาระ ค่าเช่าช่องสัญญาณตลอดช่วงโครงการทดลอง
2. จัดหาอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งจานรับสัญญาณ (Dish)ติดตั้งในสถานศึกษาและศูนย์การเรียนกระจาย ไปทั่วประเทศ

3. ให้ความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้การศึกษา 2 ทาง (Interactive and Two-way Communication) ในอนาคต


การรับชมรายการ


จากการออกอากาศโดยส่งสัญญาณในระบบบีบอัด สัญญาณ ขึ้นสู่ ดาวเทียม และ ส่งสัญญาณกลับ มายังจุดบริการโดยไม่ต้อง ผ่านสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดินนั้น ในการรับชมรายการ โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางสถานี ETV ผู้รับชมรายการ จึงต้องติดตั้งชุดอุปกรณ์รับสัญญาณในจุดที่ต้องการ รับชม ดังต่อไปนี้
จานรับสัญญาณดาวเทียม (Dish)สำหรับ ย่านความถี่ KU-Band ระบบ Dstv ขนาดกว้าง 60 – 80 เซนติเมตร ซึ่งประกอบด้วยตัวจานกรวยรับสัญญาณ (Feedhorn) และอุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีการรบกวนต่ำ (Low Noise Block Down Converter)
ชุดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม หรือ IRD (Integrated Receiver Decoder) พร้อม Smart Card และ CA – Module เพื่อแปลงสัญญาณในการรับชมรายการ เมื่อติดตั้งชุดอุปกรณ์ดังกล่าวเชื่อมโยงกับเครื่องรับโทรทัศน์แล้ว ผู้ชมสามารถปรับช่องสัญญาณเพื่อรับชมรายการของ ETV ได้ที่ ช่อง 96 โดย ไม่เสียค่าสมาชิก เนื่องจาก ETV เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดให้บริการโดยไม่คิด มูลค่าแก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปปัจจุบัน


- รับชมทาง Thaicom 5 (ดาวเทียมไทยคม 5 ) Ku Band ความถี่ 12272 SR- 30000

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี


รายละเอียด
สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (อังกฤษ: Independent Television ชื่อย่อ: itv) เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวัน เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ การเป็น สถานีโทรทัศน์เพื่อข่าวสาร และสาระความรู้ โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง 26 และช่อง 29 โดยมี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าของคลื่นความถี่และผู้กำกับสัมปทาน ยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น ก็ถูกเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นทีไอทีวี จวบจนมาถึง ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ
สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถือกำเนิดจากดำริของรัฐบาลในสมัยที่ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่ต้องการให้มีสถานีโทรทัศน์เสรี เพื่อการนำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้สู่ประชาชน โดยเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยในโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าวนั้น ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งไว้ว่า ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 สถานีโทรทัศน์ทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งสามารถบิดเบือนการนำเสนอข่าว ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการได้ ประชาชนจึงไม่สามารถรับรู้ข่าวที่ทหารเข้า ปราบปรามประชาชนในช่วงนั้นได้ ประจวบเหมาะกับการที่มีเสียงเรียกร้องของประชาชน ให้รัฐบาลใช้นโยบายจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และรายการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2538 สปน.ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น โดยกลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ ในระบบยูเอชเอฟ ออกอากาศทางช่อง 26 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟช่องแรกของประเทศไทย จากนั้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ก่อตั้ง บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินการสถานีฯ โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ ด้วย
ในระยะแรก สถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่ทำการอยู่บนชั้นที่ 16, 17 และ 21 ของตึกฝั่งตะวันออก อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถนนพหลโยธิน โดยมีระบบการบริหาร ที่เน้นภาพลักษณ์ของการนำเสนอข่าวสารและสาระเป็นหลัก โดยมี เทพชัย หย่อง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายข่าว พร้อมทั้งนำทีมงานจากเครือเนชั่น เข้าเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ในช่วงแรกของไอทีวี มีรายการข่าว และรายการสารคดีเชิงข่าว ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ข่าวภาคค่ำ, ไอทีวี ทอล์ค, สายตรงไอทีวี, ถอดรหัส, ย้อนรอย เป็นต้น ซึ่งทำให้ไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการนำเสนอข่าวสารในเวลาต่อมา รวมถึงการเป็นผู้นำในเชิงข่าวสืบสวนสอบสวนอีกด้วย
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และในราวปี พ.ศ. 2542 หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอดอาคารใบหยก 2 และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย
ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ไอทีวี จากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่แสดงความจำนงจะขายหุ้น หลังประสบปัญหาในการบริหารสถานีฯ ส่งผลให้พนักงานฝ่ายข่าวของสถานีฯ บางส่วนไม่เห็นด้วย และเมื่อ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าซื้อหุ้นเป็นผลสำเร็จ กลุ่มผู้บริหารและพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วน ที่นำโดย เทพชัย หย่อง ตัดสินใจลาออกจากสถานีฯ และหลังจากนั้น ไอทีวีก็เคลื่อนย้ายที่ทำการ จากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่บนอาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต
ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2546 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอร์น ออพปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 และมีผลให้นายไตรภพมีสถานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีด้วย ซึ่งถือเป็นการกลับสู่ไอทีวีอีกครั้ง หลังจากที่ในระยะเริ่มแรกของสถานีฯ นายไตรภพ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มสยามทีวี ในการประมูลสถานีโทรทัศน์เสรีมาแล้ว แต่ไม่นานนักก็ได้ถอนตัวออกไป
เมื่อเข้าบริหารไอทีวี นายไตรภพได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถานีฯ ใหม่ในหลายด้าน เช่น เปลี่ยนแปลงเวลานำเสนอข่าวภาคค่ำ จาก 19.00 น. มาเป็น 18.00 น., ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอรายการประเภทข่าวใหม่ และเปลี่ยนแปลงผังรายการในช่วงเวลา 15.00-24.00 น. โดยเพิ่มเติมรายการบันเทิง เช่น ร่วมมือร่วมใจ, ไอทีวี ฮอตนิวส์, บุปผาแฟนคลับ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป), ชวนชื่นคาเฟ่ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป) เป็นต้น พร้อมทั้งนำรายการทั้งหมดของ บจก.บอร์นฯ เช่น ทไวไลท์โชว์, เกมเศรษฐี, วอท อีส อิท? อะไรกันนี่ เป็นต้น ซึ่งเดิมออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 มาออกอากาศทางไอทีวีด้วย แต่ในเวลาต่อมา บจก.บอร์น และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ จึงส่งผลให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นผู้เช่าเวลาของสถานีฯ เท่านั้น พร้อมกันนั้น นายไตรภพก็ต้องสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ ลงเฉพาะตัว โดยมี นายทรงศักดิ์ เปรมสุข และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานีฯ แทน
ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานแก่สถานีฯ เป็นเงิน 230 ล้านบาท ตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ เป็นร้อยละ 50 เท่ากับรายการข่าวและสาระ รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดย สปน. ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองสูงสุดก็ พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับเพิ่มสัดส่วนให้รายการข่าวและสาระ เป็นร้อยละ 70 ต่อรายการบันเทิง ร้อยละ 30 ตามเดิม นอกจากนี้ บมจ.ไอทีวี ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี
จากนั้น สถานีฯ จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกอากาศโดยทันที ประกอบกับที่ผู้ผลิตรายการบางส่วน เริ่มถอนรายการออกจากสถานีฯ เป็นผลให้ความนิยม (เรตติ้ง) ของสถานีฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศให้ บมจ.ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท มาชำระกับ สปน.ภายใน 45 วัน และให้ชำระค่าปรับ กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท ทั้งนี้ สปน.กับ บมจ.ไอทีวี ได้เปิดการเจรจา ขอให้ต่อเวลาเรียกชำระออกไปอีก 30 วัน ไปสิ้นสุดในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2550 แต่อย่างไรก็ตาม บมจ.ไอทีวี ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานและคำเสียหายดังกล่าว ให้กับ สปน.ได้ ที่สุดแล้ว ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีจึง มีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี ระหว่าง สปน.กับ บมจ.ไอทีวี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 24:00 น.

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งหนังสือยกเลิกสัญญามายัง บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผ่านระบบยูเอชเอฟ(UHF) ช่อง29 อย่างเป็นทางการ ในเวลา 24.00 น. ของวันดังกล่าว และให้กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ชื่อใหม่ ในคลื่นความถี่เดิม โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี โดยเป็นการออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป


ช่องทางการรับชม


- ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ ไอทีวียุติการออกอากศแล้ว

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ

ข้อมูล

รายละเอียด

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เป็นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศส่งสัญญาณโทรทัศน์สีระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีกหนึ่งเดือนต่อมา โดยแท้จริงแล้ว การแพร่ภาพออกอากาศของสถานีฯ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุคของ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี อย่างเป็นทางการ ซึ่งออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา


ประวัติ

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2551 ทำให้กรมประชาสัมพันธ์ได้ตัดสัญญาณการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีซึ่ง ออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 เป็นเวลาชั่วคราว เมื่อเวลา 00.08 นาฬิกาของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และเปลี่ยนมาออกอากาศนโยบายของสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะสลับกับสารคดีเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยทั้งหมดส่งสัญญาณจากอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นเวลา 15 วัน

กระทั่งเวลา 15.30 นาฬิกาของวันที่ 17 มกราคม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการ สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส อย่างเต็มตัว โดยได้ออกอากาศรายการพิเศษ "นับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS" จากห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นครั้งแรก และนับเป็นรายการสดที่ออกอากาศจริงทางสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยเนื้อหาของรายการเป็นการอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของ สถานีโทรทัศน์ มีนางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวีชุดกบฎไอทีวี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมรายการคือนายขวัญสรวง อติโพธิ นายณรงค์ ใจหาญ และนายอภิชาติ ทองอยู่ กรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การฯ เป็นวิทยากร

หลังจากนั้น สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสได้ออกอากาศรายการสารคดีอย่างต่อเนื่อง กระทั่งได้กลับมาออกอากาศทางช่อง 29 อันเป็นช่องไอทีวีเดิมอีกครั้ง และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้เปิด "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส" ขึ้นอย่างเป็นทางการแทนที่สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส แต่คงใช้ตราสัญลักษณ์แบบเดียวกับของเดิม เพียงเปลี่ยนชื่อด้านล่างตรา พร้อมทั้งประกาศผังรายการใหม่เพื่อทดลองออกอากาศในระยะแรกระหว่างวันที่ 1 ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ซึ่งในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. มีรายการที่สำคัญ คือ "ร่วมคิด ร่วมสร้าง ไทยพีบีเอส" ในเวลา 20.00 น ซึ่งเป็นรายการสด จัดโดยฝ่ายข่าวและฝ่ายรายการของไทยพีบีเอส มีเนื้อหาเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เกี่ยวกับทัศนคติว่าด้วยทีวีสาธารณะและความเหมาะสมในการออกอากาศรายการ ประเภทต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา

ส่วนช่วงเวลา 05.00-18.00 นาฬิกา เป็นการฉายสารคดีซึ่งเดิมทีได้ฉายเป็นปรกติอยู่แล้วในช่วงก่อนเปิดสถานี โทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส่วนผังรายการอื่นในระยะแรกมีการนำละครอิงประวัติศาสตร์อย่าง "สามก๊ก" ละครเด็ก "นะโม ฮีโร่ผู้น่ารัก" รายการคุยข่าว "ตอบโจทย์" รายการดนตรี "ดนตรีกวีศิลป์" กับ "วันโอเอทมิวสิก (108 Music)" รายการสนทนาปัญหาสังคม คือ "เปิดปม" กับ "สถานีประชาชน" รายการหนังสั้น "ฮอตชอร์ตฟิล์ม (Hot Short Film)" จับกลุ่มวัยรุ่น ตลอดจนรายการสารคดีท่องโลกและธรรมชาติ

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้ออกอากาศโดยมีการปรับผังรายการเป็นระยะในช่วงต้น เดือนของแต่ละเดือน จนกระทั่งวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 องค์การฯ จึงจัดงานเปิดตัวอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ตามที่ได้จัดประกวดไปก่อนหน้านี้พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น "ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ" ส่วนชื่อไทยพีบีเอสใช้เป็นชื่อขององค์การเพียงอย่างเดียวเท่านั้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับผังรายการให้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนรวมถึงความบันเทิงเชิงสาระมากขึ้น


การแพร่ภาพด้วยสถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดิน

เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ระบบการแพร่ภาพออกอากาศภาคพื้นดิน ใช้คลื่นความถี่ UHF หรือ Ultra High Frequency และใช้มาตรฐานของ Video ระบบ PAL G ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน CCIR โดยช่องสัญญาณย่านความถี่ UHF สำหรับกิจการ โทรทัศน์ในประเทศไทย ได้จัดสรรไว้ระหว่างช่องที่ 26 ถึง 60 หรือมีความถี่อยู่ระหว่าง 510 ถึง 790 MHz. ระบบเสียงที่สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยส่งออกอากาศประกอบด้วย ระบบเสียง Mono และ Digital NICAM Stereo ซึ่งระบบเสียง Digital NICAM นี้จะให้เสียงที่มีคุณภาพคมชัดแบบ Stereo และผู้ชมทางบ้านจะสามารถรับฟังเสียง Sound Track ได้จากระบบเสียง Digital NICAM นี้ หากเครื่องรับโทรทัศน์ของผู้ชมทางบ้านมีระบบดังกล่าว
ทีวีไทยได้พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายการส่งสัญญาณโทรทัศน์แพร่ภาพออก ไปทั่ว ประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกพื้นที่ ทั้งในตัวเมืองและชนบทที่ห่างไกล สามารถรับสัญญาณภาพ และเสียงได้อย่างชัดเจน ได้รับรู้ข่าวสาร สาระบันเทิง ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน


ช่องทางการรับชม

- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 4145 H SR- 4815

- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สทท ช่อง 11 NBT

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT



ประวัติ



รายละเอียด



สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สทท.; อังกฤษ: National Broadcasting Services of Thailand ชื่อย่อ: เอ็นบีที., NBT.) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสภาพเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล เดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (ชื่อย่อ: สทท.11, ช่อง 11; อังกฤษ: Television of Thailand Channel 11 ชื่อย่อ: TVT.11) ซึ่งมีสถานะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเช่นเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานี เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานี และในวันดังกล่าวคือวันครบรอบการใช้ชื่อ NBT 1 ปี



ประวัติ

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ
ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นการทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก แต่ระยะแรกนั้น สทท.11 ได้ใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สีของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ออกอากาศด้วยระบบวีเฮชเอฟ(VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 11 มาจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ณ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มาออกอากาศเป็นการชั่วคราว ณ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แต่เนื่องจากความถี่ต่ำ จึงไม่สามารถดำเนินการส่งสัญญาณแพร่ภาพออกอากาศต่อได้ ทว่าต่อมา สทท.11 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมูลนิธิไจก้า ตามโครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า โดยมีวงเงินประมาณ 330,000,000 บาท เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องส่งใหม่ โดยออกอากาศระบบวีเอชเอฟ(VHF)ความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11(BAND3,VHF CH-11) และสร้างอาคารที่ทำการสถานีฯ ในที่ดินของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการถ่ายทอดรายการส่วนใหญ่ และบางช่วงเวลา จะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในส่วนภูมิภาคดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงระยะเวลาแรกๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาลซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึง ดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น ละครโทรทัศน์ หรือรายการเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจมีโฆษณาได้ จึงทำให้ประเภทของรายการที่ออกอากาศทางสทท. 11 นั้น มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ชมนั้นมีไม่จำนวนไม่มากนัก
อย่างไรก็ดี ในปีพ.ศ. 2539 สทท.11 ได้เสนอให้หน่วยงานภาคต่างๆ สามารถแพร่ภาพโฆษณาให้กับทางสถานีได้ และในบางครั้ง สทท.11 ก็ได้ผลิตโฆษณาออกอากาศภายในสถานีเอง แม้จะเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จนกระทั่งในช่วงนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มมีชื่อเสียงทางด้านการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ซึ่งแต่เดิม สทท. 11 เป็นที่รู้จักกันดีจากการเริ่มนำเอากีฬามวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศทางสถานี แต่ทว่า นับตั้งแต่ที่สทท.11 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีและไอทีวี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ทศภาค จำกัด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ฮือฮามากในขณะนั้น ที่การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล ตามที่เป็นปกติในวงการโทรทัศน์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถ่ายทอดสดรายการกีฬาต่างๆ ร่วมกันทางทีวีพูล โดยมีโฆษณาคั่น แต่เมื่อสทท. 11 ได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี และไอทีวี โดยไม่มีโฆษณาคั่น แต่นั้น สทท. 11 ก็ได้ถ่ายทอดสดรายการกีฬาอีกหลายรายการจนเป็นที่ติดตามของผู้ชมกีฬาในประเทศ เป็นอย่างมากรายละเอียดของตราสัญลักษณ์เอ็นบีที (2551)
ในปีพ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เข้ามาบริหารงาน นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ได้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง สทท.11 เดิม เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ดังนั้น ในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (National Broadcasting Services of Thailand - NBT) ซึ่งเป็นการใช้ชื่อที่จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก(Asia-Pacific Broadcasting Union) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดงและ ได้ออกอากาศรายการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี และเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับการเสนอข่าวสารของเอ็นบีที จะมีความแตกต่างจาก สทท.11 คือ เอ็นบีที จะทำการเสนอข่าวในนามของทีมข่าวของสถานีเอง ซึ่งแยกออกจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวแห่งชาติ) แต่ในการเสนอข่าวในยุค สทท.11 นั้น จะดำเนินการเสนอข่าวขึ้นตรงกับสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้นำอดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีหลายคน ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น ตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์ , ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ เป็นต้น ซึ่งทางเอ็นบีทีได้นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นสถานีข่าว ผ่านทางการให้เวลานำเสนอข่าวมากกว่า 13 ชั่วโมง และปรับรูปลักษณ์ของสถานีเพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรก เอ็นบีทีถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย จากการที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย หรือไทยพีบีเอส ในลักษณะของ "สงครามสื่อโทรทัศน์ภาครัฐ" เนื่องจากเอ็นบีทีพยายามนำเสนอความเป็นทีวีสาธารณะของภาครัฐบาล ขึ้นรับมือกับไทยพีบีเอส ที่ประกาศตัวเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยไปก่อนหน้า และนอกจากนี้ เอ็นบีทียังถูกจับตามองอย่างยิ่ง ในแง่มุมของการเสนอข่าว ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอ็นบีทีนำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นพิเศษ
เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล จากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีนโยบายปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT โดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัย ผสมผสานกับความเป็นไทย และตราสัญลักษณ์ใหม่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปิดตัวสถานีในฐานะสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ และมีการเลิกสัญญาบริษัทผลิตข่าวซึ่งเดิมเป็นของ บริษัทดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ไปตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งมีข่าวว่าเป็นของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตนักการเมือง

ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 4106 H SR- 4688

- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000

- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ



ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ModernineTV

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ModernineTV


ประวัติ

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (อังกฤษ: Modernine Television) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในนาม สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ถือกำเนิดขึ้นจากดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และบรรดาข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ใน ขณะนั้น ว่าต้องการที่จะให้ประเทศไทย มีการส่งโทรทัศน์ในประเทศขึ้น โดยมีกลุ่มข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ได้แสดงความคิดเห็นกับรัฐบาลเรื่องการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ไว้ว่า "ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมี TELEVISION" ผู้นำรัฐบาลจึงได้ให้ กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้ง โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ ต่อที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2493 และต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและตั้งงบประมาณขึ้น ในปี พ.ศ. 2494 และในระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เหล่าข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์รวมไปถึงบุคคลในคณะรัฐมนตรีทั้ง 7 คน ได้จัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทย
คณะผู้ก่อตั้งบริษัท มีอยู่ 7 คน ประกอบไปด้วย หลวงสารานุประพันธ์ , ขาบ กุญชร , ประสงค์ หงสนันทน์, เผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ เลื่อน พงษ์โสภณ ก่อนการจัดตั้งบริษัทฯนั้น ได้มีการระดมทุนจาก กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐแห่งอีก จำนวน 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท
คณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ หัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา หัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น หัวหน้าร่วม ฝ่ายเครื่องส่ง และ เสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย หัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิริยศิริ หัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และ หัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช หัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 โดยมีพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี เมื่ออาคารดังกล่าวสร้างเสร็จ และติดตั้งเครื่องส่งแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ในช่วงแรกมีการแพร่ภาพออกอากาศในวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงได้เพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที

ราวเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 ท.ท.ท. ได้หยุดทำการออกอากาศในระบบ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และประมาณปี พ.ศ. 2517 ปีเดียวกัน ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ เป็นภาพสี ในระบบ 625 เส้น ระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศจริงในราวปีพ.ศ. 2519 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ส่งผลทำให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท., M.C.O.T.) เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อสาธารณชน อ.ส.ม.ท.จึงรับโอนกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อังกฤษ: Thai Television Channel 9) มาดำเนินการต่อ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. โดยรัฐบาลมอบทุนประเดิม จำนวน 10 ล้านบาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท.ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ต่อมา ในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับบริษัท แปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ส่งผลให้คู่ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น ก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร นั่นเอง
ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วนายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานีถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหารเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ถือกำเนิดขึ้นจากดำริของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการรายงานเสนอข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิงทั้งหมด และเพื่อทันต่อเทคโนโลยี การสื่อสารของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพื่อเป็นการปราศจากความเป็นแดนสนธยาภายในองค์กรอีกด้วย
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เป็นสักขีพยาน
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง และปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทให้กับเครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นมา

ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ช่องทางการรับชม

- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3888 H SR- 15625

- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000

- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง7 BBTV Channel7

ประวัติ

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 หรือ "ช่อง 7 สี" เริ่มแพร่ภาพตาม มาตรฐาน CCIR 625 เส้น ระบบ PAL เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ด้วยการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยในงานวชิราวุธานุสรณ์จากบริเวณ วังสราญรมย์ ต่อมาในปี 2516 ช่อง 7 สี ได้เริ่มจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณใน ต่างจังหวัด และในปี พ.ศ. 2521 ได้ริเริ่มการออกอากาศ โดยถ่ายทอด สัญญาณผ่านดาวเทียมจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายใน ทุกภูมิภาคเป็นสถานีแรกของประเทศไทย ปัจจุบันมีสถานีเครือข่าย ถ่ายทอดสัญญาณ รวม 37 สถานี แพร่ภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและบริเวณชายแดนประเทศ เพื่อนบ้านนอกจากนี้ ช่อง 7 สี ยังใช้ดาวเทียมนานาชาติ (International Satellite) หรือเรียก ชื่อย่อว่า INTELSAT ถ่ายทอด เหตุการณ์จากทั่วทุกมุมโลกมายังประเทศไทย ขณะเดียวกันได้ริเริ่มนำรถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียมใช้ย่านความถี่สูง (Ku - Band)และรถถ่ายทอดนอกสถานที่ (Outside - Broadcasting Vans) หรือ OB ใช้ย่านความถี่ C - Band ทำหน้าที่เป็น สถานีแม่ข่ายชั่วคราวถ่ายทอดงานประเพณี กีฬา และเหตุการณ์สำคัญตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อทำหน้าที่องค์กร สื่อสารมวลชนที่สมบูรณ์แบบ ในการถ่ายทอดสาระ ความรู้ และความบันเทิง ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชม ได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์

ปัจจุบันรายการข่าวทางช่อง 7 สี นำเสนอข่าวสารแบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ทั้งข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ รวมถึงข่าวเด็ด 7 สี และเด็ดข่าวดึก ด้วยทีมงานข่าวคุณภาพที่รายงานข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไว เที่ยงตรง นอกจากนี้รายการข่าวทางช่อง 7 สี ยังทำหน้าที่เสมือนกระจกเงาสะท้อนถึงปัญหา และสภาพชีวิตของประชาชนทั่วทุก ภูมิภาคผ่านช่วงข่าวสำคัญ อาทิ สกู๊ปชีวิต ข่าวช่วยชาวบ้าน และด้วยลำแข้ง รวมถึง สะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ ทั้งหมดนี้ล้วนมีเอกลักษณ์และได้รับความนิยมสูงตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา งานข่าวช่อง 7 สี ได้เก็บรวบรวมภาพที่มีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยระบบการจัดเก็บ ที่รัดกุม สะดวกแก่การเรียกใช้ ซึ่งในปัจจุบันศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์ของ ช่อง 7 สี เป็นแหล่งเดียวในประเทศที่เก็บรวบรวม แฟ้มภาพข่าวที่ได้รับความไว้วางใจจากสำนักข่าวระหว่างประเทศ และสถานีโทรทัศน์ชั้นนำทั่วโลกช่อง 7 สี ตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง อีกทั้งยังเห็นความ สำคัญของประชาชนในเขตชนบทและภูมิภาคห่างไกล จึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ครบครัน และเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อรายงานข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบอย่างพร้อมเพรียงกันขณะนี้ ช่อง 7 สี มีศูนย์ข่าวกระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ รวม 9 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และ ระยอง โดยใช้ศูนย์ข่าวภูมิภาค 4 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา เชียงใหม่ หาดใหญ่ และระยอง เป็นศูนย์ข่าวหลักในการรายงานข่าวและแพร่ภาพออกอากาศ

ช่องทางการรับชม

- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3764 H SR- 5900

- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000

- ดาวเทียม Vinasat 1(เวียดนาม) KU-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 11517 H SR- 4700

- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5





ประวัติ

ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชนต์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ลงนามในคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ 107 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2500 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก ประกอบด้วย พล.อ.ไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่วางโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ของกองทัพบก กับวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ และมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นปฎิบัติงาน เพื่อให้การบริหารงานได้ผลตามความมุ่งหมายของทางราชการต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2500 เป็นวันที่เริ่มวางศิลาฤกษ์อาคารสถานีโทรทัศน์ในบริเวณกองพลทหารม้า ถนนพหลโยธิน สนามเป้า พญาไท กรุงเทพมหานคร โดยกองทัพบกให้ยืมเงินในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท

ด้วยปฐมฤกษ์ ณ วันที่ 25 มกราคม 2501 สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศครั้งแรกจากอาคารสวนอัมพร ในระบบ F.C.C. (Federal Communication Committee) สัญญาณ 525 เส้น ภาพขาวดำ ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง7" กำลังออกอากาศของเครื่องส่ง 5 กิโลวัตต์ และเพิ่ม 12 เท่า ที่สายอากาศบนเสาสูง 300 ฟุตเป็นกำลังออกอากาศ 60 กิโลวัตต์ ชื่อสากลของสถานี "HSATV" และชื่อย่อว่า "ททบ." สถานีโทรทัศน์แห่งที่สองในประเทศไทยครั้งเมื่ออาคารสถานีฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกทุกวันพุธแล้วเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 3 วัน ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ รายการส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศและสารคดี โดยมีเหตุการณ์สำคัญ คือ
ขยายรัศมีการส่งสัญญาณ ด้วยเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ “ทรานสเลเตอร์” ที่เขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เพื่อถ่ายทอด “การฝึกธระรัชต์” ให้ประชาชนได้เห็นการฝึกของทหารในยามปกติ และริเริ่มการจัดรายการภาคกลางวัน (พ.ศ. 2506)
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2508 เพื่อทอดพระเนตรกิจการของสถานีฯ และในปีนั้นได้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง F.M.94.0 เมกะเฮิรตซ์ ถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ.

เกิดการก่อตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2511 เพื่ออำนวยการปฎิบัติงานของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องในประเทศไทย และเริ่มโครงการถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีส่งสนามเป้าไปยัง จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยระบบไมโครเวฟ แทนเครื่องสเลเตอร์ (พ.ศ. 2515)ในปีพ.ศ. 2517 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เป็น "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5" นอกจากนี้ยังปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องส่งโทรทัศน์จากระบบ 525 เส้น ขาวดำ ช่อง 7 เป็นระบบ 625 เส้น ช่อง 5 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2517 ในอีกเพียง 2 เดือนต่อมา ได้ถ่ายทอดพิธีสวนสนามหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ออกอากาศเป็นภาพสีใน ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2517

ททบ. 5 ใช้บริการดาวเทียมปาลาป้า (PALAPA) ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 พร้อมกับเริ่มก่อสร้างสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และมีการเปิดสถานีถ่ายทอดในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุบลราชธานี

นอกจากจะขยายสถานีเครือข่ายให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นอีกในจังหวัดระนอง ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช น่าน ชุมพร พิษณุโลก ขอนแก่น ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงราย บุรีรัมย์ สกลนคร หนองคาย นราธิวาส ยะลาแล้ว ททบ.5 ได้เป็นผู้นำริเริ่มในวงการสื่อโทรทัศน์อีกหลายประการ ได้แก่
เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ทีวี ชื่อเว็บไซต์ www.tv5.co.th (พ.ศ. 2538)
เป็นสถานีแรกที่ออกอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง (วันที่ 1 มกราคม 2540)
ใช้ระบบดิจิตอลในการผลิตและควบคุมการออกอากาศ (พ.ศ. 2539)
4. นำเฮลิคอปเตอร์ติดกล้องและรถถ่ายทอดข่างผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่ Digital Satellite News Gathering ( D-SNG) มาเป็นเครื่องมือเข้าถึงในการถ่ายทอดสด รายงานข่าว และสถานการณ์เร่งด่วนในทุกจุดของประเทศ ทำเสนอต่อผู้ชมได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (พ.ศ.2538)

เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ททบ.5 เป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องปรับตัวให้ดำรงอยู่ แต่ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าว กลับเป็นโอกาสให้ ททบ.5 แสดงศักยภาพซึ่งปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
ออกอากาศสัญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตอล สู่คนไทยทั่วโลกตามโครงการ Thai TV Global Network (TGN) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันสามารถรับชมได้ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก
การ ก่อสร้างอากคารที่ทำการและสถานีโทรทัศน์หลัก แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 ต้อนรับในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. 5 นับเป็นอาคารที่รวมส่วนบริหาร ส่วนปฎิบัติการ และส่วนสนับสนุน ไว้ในสถานที่เดียวกัน มีห้องส่งโทรทัศน์ที่ทันสมัยถึง 4 ห้อง
ร่วมกับโทรทัศน์รวม การเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)ในการถ่ายทอดพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 9 มิถุนายน 2549 และในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
เริ่มการก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมและอาคารจอดรถ มูลค่า 50 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 และจะเสร็จในปี พ.ศ.2551


ช่องทางการรับชม
- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3905 H SR- 6250
- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000
- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

สถานีโทรทัศน์ไทยทัวีสีช่อง3



สถานีโทรทัศน์ไทยทัวีสีช่อง3

ประวัติ

กลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ได้ รับการจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่ม"มาลีนนท์" ในระหว่างปี 2538 โดยการรวบรวมบริษัทของ"มาลีนนท์" ที่ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดำเนินการออกอากาศ(BROADCASTING) ,จัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์ (SOURCING AND PRODUCING TV PROGRAMS) และสื่อโฆษณาอีเล็ค ทรอนิคส์ (ELECTRONICS ADVERTISING MEDIA ) เข้าด้วยกัน ปัจจุบันกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน) ประกอบด้วยบริษัททั้งหมดรวม 15 บริษัท ได้แก่
1. บีอีซี เวิลด์
2. บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์จำกัด
3. รังสิโรตม์วนิช
4. นิวเวิลด์โปรดั๊กชั่น
5. บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (อริยะวัฒน์ )
6. ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น
7. ทรีมีเดีย
8. สำนักข่าวบีอีซี
9. บีอีซี สตูดิโอ
10. บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนลฯ
11. ทีวีบีเน็ตเวอร์ค
12. บางกอกเคเบิ้ลเทเลวิชั่น
13. บางกอกแซทเทิลไลท์
14. แซทเทิลไลท์ทีวีบรอดคาสฯ
15. แซทเทิลไลท์บรอดคาสติ้งฯ

โดยสามารถแยกออกเป็นกลุ่มตามลักษณะของธุรกิจที่ดำเนินกิจการได้ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจดำเนินกิจการออกอากาศ (BROADCASTING) ประกอบด้วย
1.1 ออกอากาศโทรทัศน์ (FREETV) ได้แก่ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งมีสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง3 จนถึงเดือนมีนาคม 2563 อีก24ปี) โดยเป็น เจ้าของเวลาออกอากาศทั้งหมดมีเจ้าหน้าที่จัดผังรายการออกอากาศให้เหมาะสมให้สามารถมีจำนวนผู้ชมสูงสุด1.2 ออกอากาศวิทยุ (RADIO BROADCASTING) ได้แก่ บริษัท ยูแอนด์ไอคอร์โปเรชั่นจำกัด ดำเนินการออกอา-กาศวิทยุคลื่นเอฟ.เอ็ม.3 สถานี โดยออกอากาศภาค ภาษาอังกฤษ 2 สถานีได้แก่คลื่น95.5 และ105.0 เมกกะเฮิตซ์ ซึ่งเช่าเวลามาจากกรมประชาสัมพันธ์สัญญาจะสิ้นสุด ปลายเดือนธันวาคม 2545 และการออกอากาศเพลงสากล โดยดี.เจ.คนไทยทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเอฟ.เอ็ม. 105.5 ร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง3 โดยมีสัญญาดำเนินการจนถึงเดือนมีนาคม 2563 ส่วนใหญ่เป็นรายการเพลง ที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของเพลงในแต่ละสถานีคลื่น 95.5 GOLDFMX เป็นเพลงสำหรับกลุ่มคนรุ่น สมัยใหม่ (YUPPIES),SMOOTHFM105 เป็นเพลงประเภทEASY LISTENING หรือ ADULT CONTEMPORARY และคลื่น EAZY FM 105.5 จะเป็นแนวเพลงเก่าที่ได้รับความนิยม และติดตลาดมากๆ บริษัทฯได้ร่วมกับสปอน เซอร์จัดกิจกรรมพิเศษมีงานปาร์ตี้กับกลุ่มสมาชิก "PRIVILEGECLUB" ในทุกๆเดือน1.3 ออกอากาศโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก (PAY TV) ได้แก่ บริษัท บางกอกเคเบิ้ลเทเลวิชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด ,บริษัท แซทเทิลไลท์บรอดคาสติ้งซิสเทม จำกัดและบริษัท แซทเทิลไลท์ทีวีบรอดคาสติ้งจำกัดซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นขอรอรับใบอนุญาตสัญญาจากหน่วยงานที่ให้อนุญาต 1.4 ออกอากาศรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (SATELLITE UPLINK-DOWNLINK)ได้แก่ บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด ซึ่งจะเข้าร่วมทุนในบริษัทร่วมทุนระหว่างองค์ การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท โทเทิ่ลแอคเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด, บริษัท เทเลคอมโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) , บริษัท หนังสือพิมพ์วัฏจักร จำกัด(มหาชน)และกลุ่มสหศีนีมาเพื่อดำเนิน การให้บริการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมโดยคาดว่าบริษัทจะมีส่วนในบริษัทร่วมทุนแห่งนี้เท่ากับร้อยละ 11.5
2. กลุ่มธุรกิจดำเนินการจัดหา และ ผลิตรายการโทรทัศน์ (SOURCING AND PRODUCING TV PROGRAMS) ประกอบด้วย
2.1 จัดหา และ ผลิตรายการบันเทิง และ สารคดีได้แก่ บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน), บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด , บริษัท นิวเวิลด์โปรดั๊กชั่น จำกัด , บริษัทบีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (เดิมคือ บ.อริยะวัฒน์ จำกัด) , บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนลดิสทริบิวชั่น จำกัด และ บริษัท ทีวีบี3เน็ตเวอร์ค จำกัดซึ่งทั้งหมดดำเนินการจัดหาและผลิตรายการบันเทิงและสารคดีเพื่อใช้ในการออกอากาศทางโทรทัศน์
2.2 ผลิตรายการข่าวได้แก่ บริษัท สำนักข่าวบีอีซี จำกัด ซึ่งจะเกิดจากการรวมเอาฝ่ายข่าวที่แยกออกมาจาก ไทยทีวีสีช่อง3 และ สถานี-วิทยุของ ยูแอนด์ไอ ขึ้นเป็นหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ผลิตข่าวเพื่อออกอากาศทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ตลอดจนถึงข่าวที่จะขายให้แก่สำนักข่าวอื่นอีกด้วย 2.3 ผลิตและบริการผลิตรายการได้แก่ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด ซึ่งจะเป็นเจ้าของสตูดิโอทำการผลิตรายการและให้บริการผลิตเช่นให้เช่าสตูดิโอหรือ อุปกรณ์สตูดิโอเพื่อการผลิตรายการ ตลอดจนถึงการให้บริการPOSTPRODUCTION อีกด้วย
3.กลุ่มธุรกิจดำเนินการสื่อโฆษณาอิเล็คทรอนิคส์ (ELECTRONICS ADVERTISING MEDIA)
ได้แก่ บริษัท ทรีมีเดีย จำกัด ซึ่งดำเนินการให้บริการสื่อโฆษณาอิเล็คทรอนิคส์ โดยการติดตั้งจอภาพประเภท PROJECTOR WALLหรือ MONITOR WALL หรือ TV WALL ตามศูนย์การค้าหลักหลายแห่งทั่วประเทศฯ และ ปริมณฑลนำเสนอโฆษณาณจุดขายเป็นการเตือน และชักชวนผู้บริโภคให้หันมาซื้อสินค้าหรือบริการที่โฆษณา นอกจากนี้ยังได้ให้เช้า ให้บริการ VDO WALL ในการจัดงานประชุม สัมมนา และจัดการแสดงต่างๆ ตลอดจน เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งนอกจากที่จะใช้เพื่อการโฆษณาดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้ห้างแสดงสิน ค้าร้านเทปซีดี และในศูนย์ควบคุมขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์โทรคมนาคม, ศูนย์ควบคุมการขนส่งมวลชน , ศูนย์ ควบคุมทางทหาร และ ศูนย์ควบคุมของโรงงานขนาดใหญ่ต่างๆ เป็นต้น
..... ปัจจุบัน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในกลุ่มของบริษัทที่มีมูลค่าตลาด ( MARKET CAPITAL) สูงสุด 15 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านหุ้น( รวมเป็นมูลค่าที่ ตราไว้ 2,000 ล้านบาท ) หุ้นของบริษัทได้เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาตั้งแต่ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 โดยใช้ชื่อย่อว่า" BEC "

ช่องทางการรับชม

- ดาวเทียมไทยคม 2 (thaicom 2) C-BAND (ฟรีทีวี) ความถี่ 3967 H SR- 4551

- ดาวเทียมไทยคม 5 (thaicom 5) KU-BAND (เข้ารหัส) ความถี่ 12313 H SR-30000 และ True vision ความถี่ 12438 H SR-30000

- เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ